ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ความสามารถตนเองร่วมกับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมเพื่อการลดน้ำหนักในกลุ่มวัยทำงานอายุ 40-49 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ตำบลหนองกุงเซินอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น.
คำสำคัญ:
น้ำหนักเกิน, โรคอ้วนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ ความสามารถตนเอง ร่วมกับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อการลดน้ำหนักในกลุ่มวัยทำงาน อายุระหว่าง 40-49 ปี ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 54 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 27 คน ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษาโดยการ ให้ความรู้ การสาธิตกิจกรรมและการฝึกปฏิบัติ วีดีทัศน์ กิจกรรมเพิ่มแรงจูงใจ เอกสารบันทึกกิจกรรมประจำวัน การ์ดชีวิตพิชิตโรคอ้วน และเครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เปรียบเทียบใช้สถิติ Paired Sample t-test และ Independent Sample t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ การปฏิบัติตัวมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ค่าดัชนีมวลกาย ไขมันในช่องท้อง เส้นรอบเอว มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value < 0.001) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p-value >0.05)ส่วนไขมันในร่างกาย พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างจากก่อนการทดลอง(p-value >0.05) แต่น้อยกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05)
ดังนั้น ในการจัดกิจกรรมลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพจึงควรใช้โปรแกรมที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่มีความหลากหลาย เช่น 3อ.3ส. ง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้จริง เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้นๆ โดยต้องกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จึงจะได้ผลตามวัตถุประสงค์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น