รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย
คำสำคัญ:
เจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย, รูปแบบการพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทยและ3)เพื่อทดลอง และประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทยวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น3 ระยะ คือ ระยะที่ 1เป็นศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทยพื้นที่การวิจัย คือ ประเทศไทยประชากร คือ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย จำนวน 748 คนกลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทยได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของTaro Yamaneได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน262 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มตามระดับชั้น อย่างเป็นสัดส่วน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และใช้รูปแบบการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมลิสเรล ตัวแปรสาเหตุ ประกอบด้วย1)ด้านความฉลาดทางอารมณ์2)ด้านภาวะผู้นำ3)ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง 4)ด้านการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร 5)ด้านความกระตือรือร้นมุ่งมั่น 6)ด้านบรรยากาศองค์การ 7)ด้านแรงจูงใจ 8)การทำงานเป็นทีม 9)ด้านการรับรู้บทบาท และ10)ด้านการมีส่วนร่วมตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทยระยะที่ 2 เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทยประชากร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ประธานกรรมการ คณะกรรมการดำเนินการ และนักวิชาการสหกรณ์เจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทยที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 10 คน ทั้งสิ้นจำนวน 20 คนโดยใช้ตัวแปรคือ ปัจจัยที่เป็นผลลัพธ์จากการศึกษาของผู้วิจัยที่ได้จากการวิจัยในระยะที่ 1 มาเป็นประเด็นในการพิจารณาสร้างรูปแบบโดยวิธีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 1 วัน เพื่ออภิปรายผลและเสนอแนะในที่ประชุมแล้วนำรูปแบบที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสม และระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย กลุ่มทดลองคือ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขหนองคาย จำกัดใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 13 คน ระยะเวลาในการทดลอง จำนวน 3 เดือน ประเมินผลการทดลอง โดยการเปรียบเทียบผลการทดลองก่อนและหลังการทดลอง ใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank Testโดยกำหนดค่า ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1.ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานประกอบด้วย 6ปัจจัย เรียงตามลำดับได้แก่ 1)ด้านการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ(0.40) 2)ด้านบรรยากาศองค์การ(0.36) 3) ด้านการทำงานเป็นทีม(0.35) 4)ด้านความฉลาดทางอารมณ์(0.14) 5)ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง(0.11) และ6)ด้านการรับรู้บทบาท ( 0.06)
2.ได้รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทยจำนวน 18 กิจกรรม ดังนี้ 1) กิจกรรมการพัฒนาจิตใจ 2) กิจกรรมระดมสมอง ต้นไม้แห่งความคิด 3) กิจกรรม ถอดรหัส 4) กิจกรรมการทำงานร่วมกันเป็นทีม 5) กิจกรรมเรียนรู้การพัฒนาบุคคล และทีมงาน 6) กิจกรรม กระดาษของฉัน 1 7) กิจกรรมวิธีบริการสมาชิกให้ประทับใจ 8) กิจกรรมการพัฒนาอารมณ์ 9) กิจกรรมโยนไข่ไม่ให้แตก 10) กิจกรรมจุดเทียนสัญญาว่าจะเป็นคนดี 11) กิจกรรมรู้จักตัวเอง 12) กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ 13) กิจกรรมการวิเคราะห์ตนเอง 14) กิจกรรมช่วยฟังหน่อย 15) กิจกรรมทีม 16) กิจกรรมรูปปริศนา 17) กิจกรรมความคาดหวังที่ลูกค้าต้องการจากเราและ 18) กิจกรรมบทบาทและหน้าที่
3.ผลการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย พบว่าหลังการทดลองเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขมีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานดีขึ้นกว่า ก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น