บริบททางสังคมและวิถีชุมชนของชาวบ้านแถบลุ่มน้ำชีกับการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ

ผู้แต่ง

  • บุญทนากร พรมภักดี The Office of Disease Prevention and Control 6 Khon Kaen
  • นัทนัน วิรุฬหเดช The Office of Disease Prevention and Control 6 Khon Kaen
  • นิภาพร หร่องบุตรศรี The Office of Disease Prevention and Control 6 Khon Kaen

คำสำคัญ:

โรคพยาธิใบไม้ตับ, บริบททางสังคมและวิถีชุมชน, ลุ่มน้ำชี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อสรุปเชิงทฤษฎีการป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในชุมชน  ซึ่งเป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างบริบททางสังคมและวิถีชุมชนของชาวบ้านแถบลุ่มน้ำชีกับการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสร้างข้อสรุปเชิงทฤษฏี การเลือกสนามหรือพื้นที่วิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากต่อการได้มาซึ่งข้อมูลที่ตรงและเพียงพอสำหรับอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา ซึ่งผู้วิจัยกำหนดสนามวิจัยพิจารณาจากหมู่บ้านหรือชุมชนที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำชี  มีวิถีชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับลุ่มน้ำชี และประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนมีอัตราการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับต่ำคือ เป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอบ้านแฮด  จังหวัดขอนแก่น  รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการอภิปรายกลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  และการศึกษาเอกสาร  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีแปลความ และตีความหมาย จัดเรียงข้อมูล  แยกแยะ จัดกลุ่มข้อมูลและสร้างมโนทัศน์ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า

  1. ลักษณะของการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ  ประกอบด้วย 4 ประเด็น ได้แก่  1) สภาพหมู่บ้าน ประกอบด้วย  ประวัติหมู่บ้าน ที่ตั้งหมู่บ้าน  แหล่งน้ำ และการคมนาคม  2) กระบวนการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ  ประกอบด้วย  การสำรวจข้อมูลสถานะสุขภาพชาวบ้านของอสม. การจัดทำผังเครือญาติ และแผนที่เดินดินของอสม.   3) พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ  ประกอบด้วย  การกินยารักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ และการพฤติกรรมการบริโภคอาหารเสี่ยงโรคพยาธิใบไม้ตับ  
  2. ปัจจัยพื้นที่มีผลต่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานของหมู่บ้าน ปัจจัยด้านผู้นำชุมชน และปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของอสม.
  3. ประเด็นเงื่อนไขเชิงบริบท ได้แก่ ประวัติหมู่บ้าน สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน สภาพด้านสังคมและวัฒนธรรม สภาพทางด้านเศรษฐกิจ สภาพการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเงื่อนไขสอดแทรก ประกอบ พฤติกรรมการบริโภคอาหารเสี่ยง  ได้แก่ อาหารประเภทปลาดิบที่ปรุงกินได้ทันที  อาหารประเภทปลาดิบที่ต้องนำไปหมัก และอาหารประเภทสุก ๆ ดิบๆ และการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ
  4. ผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นจากการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับของชาวบ้าน  ประกอบด้วย ผลสืบเนื่องจากพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ได้แก่ ให้มีการปรับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับที่เหมาะสม  นำไปสู่การลดการบริโภคอาหารโรคพยาธิใบไม้ตับและไม่ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับของชาวบ้าน 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27