ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
เบาหวานชนิดที่ 2, ภาวะแทรกซ้อนทางเท้า, ส่งเสริมพฤติกรรม, การป้องกันบทคัดย่อ
การศึกษาแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ในกลุ่มตัวอย่าง 2 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาศึกษา 12 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้า เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนภายในกลุ่มวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired t – test และระหว่างกลุ่มใช้สถิติ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
จากผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีผลต่างคะแนนค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าเพิ่มมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.01)
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการวิจัยครั้งนี้ พบว่าโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมรวมทั้งการติดตามเยี่ยมบ้านในชุมชน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าได้ดีขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น