การทดสอบความไวของลูกน้ำยุงลายต่อสารเคมี Temephos ที่ระดับความเข้มข้น 0.02% จังหวัดเลยและหนองบัวลำภู ปี 2557
คำสำคัญ:
ระดับความไว, สารเคมี ทีมีฟอส, ยุงลายบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบระดับความไวของลูกน้ำยุงลายต่อสารเคมี Temephos ระดับความเข้มข้น 0.02 ppm. ดำเนินการในช่วงเดือน เมษายน – กรกฎาคม 2557 โดยเก็บตัวอย่างลูกน้ำยุงลายจากพื้นที่ คัดเลือกหมู่บ้านแบบเจาะจงในจังหวัดเลย 14 หมู่บ้าน และจังหวัดหนองบัวลำภู 6 หมู่บ้าน รวม 20 หมู่บ้าน คัดเลือกลูกน้ำยุงลายระยะ 3 ( ตอนปลาย ) หรือระยะ 4 ( ตอนต้น ) โดยใช้ตัวอย่างหมู่บ้านละ 125 ตัว ใช้ทดสอบกับสารเคมี จำนวน 100 ตัว และใช้เปรียบเทียบการทดสอบ ( Control ) จำนวน 25 ตัว ทอสอบต่อสารเคมี Temephos ระดับความเข้มข้น 0.02 ppm. ตามวิธีการขององค์การอนามัยโลก ผลการศึกษา จังหวัดเลยไม่พบอำเภอที่มีระดับความไวของลูกน้ำยุงลายในระดับสูง พบมี 8 อำเภอ ที่มีระดับความไวของลูกน้ำยุงลายในระดับปานกลาง ( 80.00 - 93.00 ) คือ อำเภอภูเรือ ท่าลี่ ผาขาว หนองหิน นาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย และนาด้วง และพบอำเภอที่มีระดับความไวของลูกน้ำยุงลายในระดับต่ำ ( 69.00 – 78.00 ) 6 อำเภอ คือ อำเภอภูกระดึง ภูหลวง ปากชม เอราวัณ วังสะพุง และ อำเภอเมือง ในจังหวัดหนองบัวลำภูพบระดับความไวของลูกน้ำยุงลายต่อสารเคมี Temephos ระดับความเข้มข้น 0.02 ppm. มีความคล้ายคลึงกันกับจังหวัดเลยคือไม่พบอำเภอมีระดับความไวในระดับสูง ซึ่งพบระดับความไวของลูกน้ำยุงลายต่อสารเคมีในระดับปานกลาง ( 85.00 – 89.36 ) มี 2 อำเภอ คือ อำเภอนาวังและนากลาง อีก 4 อำเภอ มีระดับความไวในระดับต่ำ ( 54.08 – 63.00 ) คือ อำเภอเมือง โนนสัง ศรีบุญเรืองและอำเภอสุวรรณคูหา โดยสรุปจากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าพื้นที่จังหวัดเลยและหนองบัวลำภูลูกน้ำยุงลายต้านทานต่อสารเคมี Temephos คือ มีระดับความไวของลูกน้ำยุงลายต่อสารเคมี Temephos ระดับความเข้มข้น 0.02 ppm. ในระดับปานกลางและต่ำ คิดเป็นร้อยละ 50 เท่ากันทั้งระดับปานกลางและต่ำ
ดังนั้นการควบคุมลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัดให้มีประสิทธิภาพ ต้องเร่งรัดให้ทุกภาคส่วนที่ใช้สารเคมี temephos ในการควบคุมยุงลาย ให้ใช้ตามมาตรฐานตามองค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ 1 กรัม/น้ำ 10 ลิตร และควรใช้วิธีการอื่นๆ ร่วมด้วย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น