ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล สถานะสุขภาพ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพ ที่มีผลต่อสุขภาพช่องปาก ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2, สุขภาพช่องปาก, น้ำตาลในเลือดสะสมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยวิธีการสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล สถานะสุขภาพ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพ ที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 150 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 14 สิงหาคม – 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 89.30) มีระดับพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลช่องปากอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 88.00) และมีระดับสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.67) โดยตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ น้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (r= -0.326, 95% CI=-0.504 ถึง-0.123, P-value <0.001) รองลงมามีความสัมพันธ์ระดับต่ำ ได้แก่ ความดันโลหิตเมื่อหัวใจคลายตัว (r=0.264, 95% CI = 0.099 ถึง 0.417, P-value = 0.004) พฤติกรรมการแปรงฟัน (r=0.212, 95% CI=0.061 ถึง 0.361, P-value=0.009) ทัศนคติการดูแลช่องปาก (r = 0.165, 95% CI = 0.005 ถึง 0.320, P-value=0.043) และพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลช่องปาก (r=0.188, 95% CI=0.047 ถึง 0.312, P-value=0.021) โดยปัจจัยที่สามารถร่วมกันพยากรณ์สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ น้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) (b = -0.129, t= -4.279, p-value <0.001) พฤติกรรมการแปรงฟัน (b = 0.291,t= 2.650, p-value =0.009) พฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลช่องปาก (b = 0.158, t= 1.97, p-value = 0.050) โดยทั้ง 3 ปัจจัยสามารถร่วมกันพยากรณ์สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 17.6 (Adjusted R2 = 0.176)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น