ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของหัวหน้าครัวเรือน ตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
โรคพยาธิใบไม้ตับ, หัวหน้าครัวเรือน, การป้องกันโรค, พฤติกรรมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของหัวหน้าครัวเรือน ตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน ใช้ระยะเวลาทดลอง 12 สัปดาห์ โดยที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประกอบด้วยการให้ความรู้ การสร้างพลังอำนาจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การอภิปรายกลุ่มการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและการแรงสนับสนุนทางสังคมจากอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ออกติดตามเยี่ยมให้กำลังใจ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบใช้สถิติ Paired t –test และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบใช้สถิติ Independent t – test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง หัวหน้าครัวเรือนมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ยเพิ่มมากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)ทัศนคติมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ยเพิ่มมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ยเพิ่มมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001)
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการวิจัยครั้งนี้ คือ การที่หัวหน้าครัวเรือนได้รับองค์ความรู้ มีการเสริมสร้างพลังอำนาจ ทำให้หัวหน้าครัวเรือนมีความมั่นใจ กล้าแสดงความคิดเห็นร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการเยี่ยมติดตามให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้หัวหน้าครัวเรือนมีพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับได้ดีขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น