ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่ออีเลคโทรนิค (Facebook) ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
สื่ออีเลคโทรนิค(Facebook), การป้องกันการตั้งครรภ์, วัยรุ่นบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่ออีเลคโทรนิค(Facebook) ในการพัฒนาทักษะในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 85 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 49 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 36 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่ออีเลคโทรนิค(Facebook) ในการพัฒนาทักษะในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยาย การเล่นเกม การระดมสมอง การฝึกทักษะ และการอภิปรายกลุ่ม การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มค่าคะแนนเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired Sample t-test เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มค่าคะแนนเฉลี่ยด้วยสถิติ Independent Sample t-test กำหนดนัยสำคัญทาสถิติที่ 0.05 และค่าความเชื่อมั่นที่ 95%CI
ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์, การคิดอย่างมีวิจารณญาณและมีความคิดสร้างสรรค์, การตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา, ความตระหนักในตนเองและความเห็นอกเห็นใจในผู้อื่น, การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล, การจัดการกับอารมณ์และความเครียด, ความตั้งใจในการส่งเสริมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสูงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น