ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานในสถานประกอบการ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนบุคคล, ปัจจัยด้านภาวะสุขภาพ, พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพบทคัดย่อ
แรงงานในสถานประกอบการเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานเพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพ การดูแลสุขภาพและการส่งเสริมให้แรงงานมีสุขภาพดีเป็นกิจกรรมสำคัญในการบริการด้านอาชีวอนามัย วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานในสถานประกอบการ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งสุ่มโดยวิธีการแบบแบ่งชั้นในโรงงานขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก จำนวน 381 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิตและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยสถิติค่าไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า แรงงานในสถานประกอบการ ส่วนใหญ่มีการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับแข็งแรงดี ร้อยละ 84.8 ผลการตรวจร่างกายประจำปี พบว่ามีภาวะโภชนาการผิดปกติโดยมีน้ำหนักเกิน ร้อยละ 26.5 และอ้วน ร้อยละ 4.5 มีภาวะความดันโลหิตสูง ร้อยละ 2.3 ระดับฮีมาโตคริตผิดปกติ (เลือดจาง) ร้อยละ 18.5 มีผลการตรวจคลอเรสเตอรอล ผิดปกติ ร้อยละ 1.5 ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ผิดปกติ ร้อยละ 1.7 HDL ผิดปกติ ร้อยละ 14.4 มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยมีความเสี่ยงต่อเบาหวาน ร้อยละ 0.3 สายตาผิดปกติ ร้อยละ 28.6 พบปัญหาฟันผุ ร้อยละ 88.2 และมีหินปูน ร้อยละ 11.8 ของผู้มีความผิดปกติของสุขภาพช่องปากและฟัน การได้ยินผิดปกติร้อยละ 1.0การมองเห็นผิดปกติ ร้อยละ 8.9 มีผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ ร้อยละ 0.5 โรคซิฟิลิส ร้อยละ 0.5 ไวรัสตับอักเสบบี ร้อยละ 0.3 เม็ดเลือดแดงสูงผิดปกติ ร้อยละ 0.3 ปอดผิดปกติ ร้อยละ 0.3 สำหรับแรงงานเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป มีภาวะต่อมลูกหมากโตผิดปกติเล็กน้อย ร้อยละ 74.4 มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายโดยรวม ร้อยละ 2.0 แรงงานหญิงที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีอาการภาวะหมดประจำเดือนผิดปกติ ร้อยละ 31.6 แรงงานประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ร้อยละ 10.8 แรงงานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมในระดับพอใช้ ร้อยละ 87.9 ระดับดี ร้อยละ 5.8และไม่ดี ร้อยละ 6.3 โดยมีความสำเร็จสมบูรณ์ในชีวิต ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ โภชนาการ การจัดการความเครียดและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 75.6 / 67. 7/ 56.2 / 82.2/ 71.1 และ 81.9 ตามลำดับ และพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( χ2= 6.244 , p-value = 0.044 , χ2= 9.598
p-value =0.008 ตามลำดับ) และอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในระดับต่ำ (r = 0.135, p-value = 0.016) ปัจจัยด้านงาน ได้แก่ ระยะเวลาทำงานในสถานประกอบการในปัจจุบัน มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.120, p-value = 0.031) ปัจจัยด้านภาวะสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( r = 0.226, p-value < 0.001) และพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (χ2= 60.563 ,p-value =0.000)
ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานในสถานประกอบการให้ ดีขึ้นโดยผู้บริหารหน่วยงานควรมีการกำหนดนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ และหน่วยงานสาธารณสุขควรประสานงานกับบุคลากรในสถานประกอบการเพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมให้ความรู้และจัดบริการการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะเรื่อง การออกกำลังกาย โภชนาการ การจัดการความเครียดแก่แรงงานเพื่อการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น