ผลของโปรแกรมการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อของอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ไมลา อิสสระสงคราม The Office of Disease Prevention and Control No.1,Bangkok
  • ทัศนีย์ บุญประคอง Faculty of Environment Kasetsart University
  • เกษม จันทร์แก้ว Faculty of Environment Kasetsart University

คำสำคัญ:

การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ, อาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก, เด็กก่อนวัยเรียน

บทคัดย่อ

ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานครเป็นสถานที่เลี้ยงเด็กกลางวันที่ช่วยดูแลบุตรหลานของประชาชนที่มีรายได้น้อยและต้องประกอบอาชีพนอกบ้านให้เด็กก่อนวัยเรียนได้มีโอกาสเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาภาคบังคับ การที่มีเด็กจำนวนมากถูกเลี้ยงดูอยู่ในบริเวณเดียวกันทำให้มีโอกาสแพร่กระเชื้อสู่กันได้ง่าย โดยพบว่าเด็กในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันจะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหารมากที่สุด ดังนั้นการควบคุมและป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการที่จะช่วยลดและแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่พบได้บ่อยของเด็กภายในสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน ซึ่งผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด จึงต้องมีการพัฒนาความรู้ ตลอดจนมีทัศนคติที่ดี และมีทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลของโปรแกรมการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และการปฏิบัติในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่ให้แก่อาสาสมัครผู้ดูแลเด็กที่ปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร จำนวน 50 ราย เข้ารับการอบรมเป็นระยะเวลา 1 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อโดยการตอบแบบสอบถาม 3 ครั้ง ได้แก่ ก่อนเข้ารับการอบรม (ครั้งที่ 1) หลังสิ้นสุดการอบรม (ครั้งที่ 2) และหลังการอบรม 1 เดือน (ครั้งที่ 3) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนสิงหาคม 2558

          ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อหลังสิ้นสุดการอบรม และหลังการอบรม 1 เดือนสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อหลังการอบรม     1 เดือนสูงกว่าหลังสิ้นสุดการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน แต่ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ และทัศนคติในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อหลังสิ้นสุดการอบรมและหลังการอบรม 1 เดือนไม่มีความแตกต่างกัน ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่ช่วยเพิ่มความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อของอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27