การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันโรคมือเท้าและปากในชุมชน ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ภูพาน สันประภา Faculty of Public Health,Mahasarakham University
  • บัววรุณ ศรีชัยกุล Faculty of Public Health,Mahasarakham University
  • ชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี Faculty of Public Health,Kalasin University

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การป้องกันโรคมือเท้าปากในชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการดำเนินงานป้องกันโรคมือเท้าปากในชุมชนของตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานป้องกันโรคมือเท้าปาก จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 47 คน และเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน ดำเนินการระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน พ.ศ.2558 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบวัดการปฏิบัติตัว แบบวัดการมีส่วนร่วมและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอค่าจำนวน ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าเฉลีย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานด้วยสถิติทดสอบ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

          ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการพัฒนาการดำเนินงานป้องกันโรคมือเท้าปากในชุมชน ครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาความรู้ทีม SRRT 2) การพัฒนาความรู้ของประชาชน 3) การทำพันธสัญญาใจ 4) การให้สุขศึกษา 5) การเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองโรคในชุมชนและสถานศึกษา 6) การเชิดชูบุคคลต้นแบบ 7) การรณรงค์ทำความสะอาดหมู่บ้าน หลังการพัฒนาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคมือเท้าปากอยู่ในระดับสูง ด้านการปฏิบัติตัวและด้านการมีส่วนร่วมดำเนินงานป้องกันโรคมือเท้าปากในชุมชนอยู่ในระดับมากซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001)
          โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานครั้งนี้ เกิดจาก 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมดำเนินการ 2) การเฝ้าระวังโรคทั้งในชุมชนและสถานศึกษา 3) การเชิดชูบุคคลต้นแบบและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาตามเป้าหมายในที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27