การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรค ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา สิมมาทัน The office of Disease Prevention and Control 7th,Khon Kaen
  • ชนะพล ศรีฤาชา The faculty of Public Health, khon Kaen University.

คำสำคัญ:

ปัจจัยการบริหาร, การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพการดูแลรักษาวัณโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้  มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรคและคุณลักษณะส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7  ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในคลินิก     วัณโรคของโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7  จำนวน 144  คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 112 คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย และการสนทนากลุ่ม  จำนวน 12  คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแนวทางการสนทนากลุ่มที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และหาความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97  เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 10 เมษายน 2560 ถึง 10 พฤษภาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และใช้สถิติเชิงอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ระดับปัจจัยทางการบริหาร และระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรค ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.84 (S.D. = 0.58) และ 4.20 คะแนน (S.D. = 0.43) ตามลำดับ ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.593, p-value < 0.001) ปัจจัยทางการบริหารด้านการใช้เวลา ด้านบุคลากร และด้านวัสดุอุปกรณ์ สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่  7 ได้ร้อยละ 41.9 (R2 = 0.419, p-value < 0.001 )จากงานวิจัยนี้ ควรมีการจัดลำดับความสำคัญและติดตามกิจกรรมในแผนงานโครงการ เพื่อบรรลุผลตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการจัดสรรจำนวนบุคลากรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาระงาน รวมทั้งสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอและเหมาะสมกับการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรค จะทำให้การดำเนินงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรค ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-24