ความเป็นพิษของสารสกัดจากมะละกอ ต่อลูกน้ำยุงลายและลูกน้ำยุงรำคาญ
คำสำคัญ:
ยุงลาย, สารสกัดหยาบ, ยุงรำคาญ, มัธยฐานระดับความเข้มข้น, สารซาโปนินบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากใบมะละกอ (Carica papaya, Linnaeus) สายพันธุ์แขกดำ และสายพันธุ์ศรีราชภัฎที่ได้จากการหมักในเอทิลแอลกอฮอล์90% เป็นเวลา 7 วัน ต่อลูกน้ำยุงลาย (Aedesaegypti(borabora))ระยะที่ 3 และยุงรำคาญ Culex quinquefasciatus)ระยะที่ 3 โดยวิเคราะห์ในรูปมัธยฐานของระดับความเข้มข้น (Median Lethal Concentration : LC50) ในเวลา 24 ชั่วโมง
ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดหยาบของใบสดและแห้งของมะละกอพันธุ์แขกดำใบสดและแห้งของมะละกอพันธุ์ศรีราชภัฎ มีค่าร้อยละผลได้ (% yield) เท่ากับ 8.892, 7.669, 7.465 และ 7.122% ตามลำดับ วิเคราะห์ปริมาณสารซาโปนิน(saponin) ในสารสกัดหยาบของใบสดและแห้งของมะละกอพันธุ์แขกดำใบสดและแห้งของมะละกอพันธุ์ศรีราชภัฎด้วยเทคนิค High Performance Liquid Chromatography พบว่ามีปริมาณซาโปนินเท่ากับ386.489,132.340, 204.827 และ93.371mg L-1ตามลำดับ นอกจากนี้ค่า LC50ของสารสกัดหยาบของใบสดและแห้งของมะละกอพันธุ์แขกดำใบสดและแห้งของมะละกอพันธุ์ศรีราชภัฎต่อลูกน้ำยุงลาย เท่ากับ0.00975, 0.00487, 0.01110 และ 0.00980mg L-1ตามลำดับและค่า LC50ของสารสกัดหยาบของใบสดและแห้งของมะละกอพันธุ์แขกดำใบสดและแห้งของมะละกอพันธุ์ศรีราชภัฎต่อลูกน้ำยุงรำคาญ เท่ากับ0.01375, 0.00928, 0.01672 และ 0.01228 mg L-1ตามลำดับเมื่อนำลูกน้ำที่ตายไปส่องภายใต้กล้องสเตอริโอไมโครสโคปพบว่าโครงสร้างของส่วนท้องเปื่อยยุ่ยและท่ออากาศมีสีคล้ำกว่าปกติ
โดยสรุปสารสกัดหยาบจากใบแห้งของมะละกอพันธุ์แขกดำที่สกัดด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 90% นาน 7 วันมีความเหมาะสมไปใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและลูกน้ำยุงรำคาญได้ดี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น