ผลของหนังสั้นเพื่อป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
หนังสั้น, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง(Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของหนังสั้นเพื่อป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 โรงเรียนสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมชมหนังสั้น 1 เรื่องความยาวประมาณ 15 นาทีสัปดาห์ละ1ครั้ง รวม 4 สัปดาห์โดยหนังสั้น ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเองใหม่ทั้งหมด ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนตามปกติและเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามเพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมชมหนังสั้น ก่อนและหลังทดลองของกลุ่มทดลอง เปรียบเทียบผลของโปรแกรม หลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานได้แก่ Independent Sample t-test และ Paired Sample t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลของการศึกษา พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)คะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองก่อน และหลังการทดลองไม่แตกต่างกันและหลังทดลองกลุ่มทดลองมีผลต่างคะแนนรวมด้านแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ด้านพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และผลต่างคะแนนรวมหลังทดลองด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น