แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอเพื่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวม ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการของอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
คำสำคัญ:
ระบบสุขภาพอำเภอการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวม, การวิจัยเชิงปฏิบัติการบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอเพื่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมของอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ คณะทำงานพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานีที่คัดเลือกด้วยวิธีการเจาะจงเลือก จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการถอดบทเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี มีองค์ประกอบ 3 ส่วนได้แก่1) ปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอประกอบด้วย คณะทำงานและการบริหารจัดการ การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร และการพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 2) กระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบวงจรสร้างความรู้ประกอบด้วย ขั้นวางแผน ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นสังเกตผล และขั้นสะท้อนกลับเพื่อการจัดการความรู้ และ 3) ผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ประกอบด้วย (1) ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการและ (2) คณะทำงานมีความพึงพอใจต่อแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอมากขึ้นเนื่องจากมีเป้าหมายที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ใช้ข้อมูลข่าวสารและทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาร่วมกันและการประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาทำให้ทุกภาคส่วนในอำเภอเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จากผลการศึกษาครั้งนี้จึงเสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในระดับนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และเขตบริการสุขภาพควรสนับสนุนด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอและเสริมสร้างศักยภาพด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งควรมีการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลให้ครอบคลุมทั้งด้านผลลัพธ์ที่เกิดกับประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการและด้านกระบวนการในการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น