ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดีจังหวัดปราจีนบุรี
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างพลังอำนาจ, ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุ, ความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลและผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คู่ และกลุ่มทดลอง 30 คู่ กลุ่มทดลองจะได้รับการแจกคู่มือการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเข้าร่วมโปรแกรมประยุกต์ใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิ๊บสัน 4 ขั้นตอน โดยมีกิจกรรมคือ ครั้งที่ 1 ค้นพบความจริง (กิจกรรมรู้ตนเอง) ครั้งที่ 2 การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ (กิจกรรมรู้ทบทวน) ครั้งที่ 3 การตัดสินใจเลือกทางออก (กิจกรรมรู้แก้ไข) และ ครั้งที่ 4 การคงไว้ซึ่งพฤติกรรม (กิจกรรมฉันทำได้และต่อเนื่อง)เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้คุณค่าในตนเอง การรับรู้พลังอำนาจตนเอง และพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมสุขภาพหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนทดลองและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การสร้างเสริมพลังอำนาจในผู้ดูแล ในขั้นตอนของการสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณและการตัดสินใจเลือกทางออกช่วยสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุที่ได้จากการร่วมกันคิดร่วมกันตัดสินใจหาทางปฏิบัติที่เหมาะสมด้วยตนเอง แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น