ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของสมาชิกทีมหมอครอบครัวระดับตำบล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สิริลักษณ์ วาริยศ District Health Office Sichomphu in KhonKaen
  • ประจักร บัวผัน The faculty of Public Health, KhonKaen University

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การสนับสนุนจากองค์การ, ทีมหมอครอบครัวระดับตำบล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจ และการสนับสนุนจากองค์การ มีผลต่อการปฏิบัติงานของสมาชิกทีมหมอครอบครัวระดับตำบล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 170 คนจากประชากรทั้งหมด 787คนโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และตัวอย่างในการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณจำนวน 12 คนตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช0.98สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน  ค่าต่ำสุด  ค่าสูงสุด และสถิติอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนจากการศึกษาพบว่าแรงจูงใจภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 3.59 (S.D.= 0.50) การสนับสนุนจากองค์การภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.31 (S.D.= 0.55) และการปฏิบัติงานของสมาชิกทีมหมอครอบครัวระดับตำบลภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย3.88 (S.D.= 0.60)แรงจูงใจในส่วนของปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหารปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบและการสนับสนุนจากองค์การด้านการบริหารจัดการ สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานของสมาชิกทีมหมอครอบครัวระดับตำบล จังหวัดขอนแก่นได้ร้อยละ 60.9 (R2= 0.609 p-value <0.001) โดยผลการวิจัยในครั้งนี้หน่วยงานสาธารณสุขสามารถนำไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานของสมาชิกทีมหมอครอบครัวระดับตำบล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-24