การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน ในจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, โรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังครั้งนี้ เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะการป่วย และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายต่อการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.2556 – เมษายน พ.ศ.2557 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จำนวน 256 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วย 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ปี พ.ศ. 2556 และปี พ.ศ. 2557 จากฐานข้อมูลในแฟ้มเวชระเบียนโปรแกรม 43 แฟ้มของโรงพยาบาล นำเสนอข้อมูลสถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เพศหญิง กลุ่มอายุมากกว่า 40 ปี มีค่าดัชนีมวลกายที่สามารถควบคุมได้ในระดับดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 (เพิ่มจาก ร้อยละ 32.4 เป็น 39.7) จากการประเมินระยะไตเรื้อรัง ระหว่างปี 2556 และปี 2557 พบว่าภาพรวมผลการรักษาไตวายระยะ 4-5 ลดลงมาไตเรื้อรังระยะ 1-3 ร้อยละ 9.4 ลดลงจากร้อยละ 15.9 เป็น 6.5 โดยพบว่าผลการรักษามีค่ากรองไตดีเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 32.9 เป็นร้อยละ 93.3 ระดับความดันโลหิตที่ควบคุมได้ระดับดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.5 (Median 130/74, SD±53.3/30.8) โดยเพิ่มจาก ร้อยละ 51.8 เป็น 88.3 ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (Median 8.1, SD±2.8) ที่ควบคุมได้ระดับดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 โดยเพิ่มจาก ร้อยละ 45.1 เป็น 54.9, ระดับน้ำตาลในเลือด (Median 138, SD±53.8) ที่สามารถควบคุมได้ในระดับดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 โดยเพิ่มจาก ร้อยละ 33.4 เป็น 46.8 และพบว่าปัจจัยทำนายการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ กลุ่มอายุต่ำกว่า 40 ปี เสี่ยง 1.79 เท่า (OR 1.79, 95%CI =1.790-1.794, p-value<0.001) ระดับน้ำตาลในเลือดเสี่ยง 1.67 เท่า (OR1.67, 95%CI =1.167-2.394, p-value=0.005) ดัชนีมวลกายเสี่ยง 1.49 เท่า (OR 1.49, 95%CI =1.187-1.893, p-value<0.001) เพศชายเสี่ยง 1.46 เท่า (OR 1.46, 95%CI =1.141-1.886, p-value=0.003), ความดันโลหิตเสี่ยง 1.08 เท่า (OR 1.08, 95%CI =0.874-1.349, p-value<0.001) และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมเสี่ยง 0.75 เท่า (OR 0.75, 95%CI =0.608-0.937, p-value=0.011) เมื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางไตพบว่ามีค่ากรองไตเพิ่มขึ้น 2.08 เท่า (OR 2.08, 95%CI =0.013-0.933, p-value<0.001) สรุป การเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงโดยประเมินค่ากรองไตในผู้ป่วยเบาหวานตั้งแต่เริ่มต้นโดยเฉพาะผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 1-2 สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของไตให้ดีขึ้นได้ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย การให้ความร่วมมือของผู้ป่วยในการรักษาโรคเบาหวาน อาทิเช่น การรับรู้ด้านอาหารที่เหมาะสมและค่าดัชนีมวลกายจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น