การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โรคเลปโตสไปโรซีส และโรคหนองใน : โรงพยาบาลผาขาว อำเภอผาขาว จังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2558
คำสำคัญ:
การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก, โรคเลปโตสไปโรซีส, โรคหนองในบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวังระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซิส และโรคหนองใน โรงพยาบาลผาขาว อำเภอผาขาว จังหวัดเลย กลุ่มประชากรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เจ้าหน้าที่ทั้งหมด 114 คน เก็บตัวอย่างได้ 72 คน คิดเป็นร้อยละ 63.2 ส่วนที่ 2 ผู้ป่วยที่เข้าตามเงื่อนไข ในปี 2558 โดยจัดลำดับความสำคัญของโรคติดต่อนำมาประเมิน 3 โรค คือ ไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซิส และโรคหนองใน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อมูลจาก โปรแกรมบันทึกข้อมูล HOSxP ข้อมูลจากโปรแกรมระบาดวิทยา 506 แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.2 ทำงานและเกี่ยวข้องกับงานระบาดวิทยา ค่ามัธยฐาน 8 ปี การจัดลำดับความสำคัญคำนึงถึงความรุนแรงของโรคมากที่สุด ร้อยละ 90.3 โรคที่ควรเฝ้าระวังมากที่สุดคือ ไข้เลือดออก ร้อยละ 84.7 รองลงมา เลปโตสไปโรซิส ร้อยละ 58.3 โรคหนองใน มีความไวมากที่สุด ร้อยละ 87.5 รองลงมา เลปโตสไปโรซิส ร้อยละ 80.0 โรคไข้เลือดออก มีความไวน้อยที่สุด ร้อยละ 62.2 สำหรับค่าพยากรณ์บวกทั้ง 3 โรค มีค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 100 ทั้ง 3 โรค การรายงาน มีความครบถ้วนในข้อมูลที่สำคัญ ร้อยละ 100 ยกเว้น โรคไข้เลือดออก (ไม่มี H.N. 1 ราย) ร้อยละ 96.4 สำหรับความถูกต้องของโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 96.4 และโรคหนองใน ร้อยละ 85.7 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลตามรายงาน และจากระบบการบันทึกของโรงพยาบาล พบว่า ทั้ง 3 โรค ข้อมูลจากการรายงาน 506 ยังไม่สามารถเป็นตัวแทนของสถานการณ์ได้พบความคลาดเคลื่อนทั้งเรื่องเพศ อายุ ยกเว้นโรคหนองใน ที่อายุไม่แตกต่างกันมากนัก จากแบบสอบถาม พบว่า การยอมรับความยืดหยุ่นความมั่นคง และการใช้ประโยชน์ของระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา มีความคิดเห็นดี ความยากง่ายระดับปานกลาง โดยภาพรวมอยู่ที่ระดับดี สำหรับการจัดส่งรายงานตามโปรแกรมรายงาน 506 ใช้วิธีดึงข้อมูลจากระบบ HOSxP ยกเว้น โรคไข้เลือดออก ที่ผู้รับผิดชอบใช้วิธีบันทึกลงในโปรแกรมเอง การเผยแพร่ข้อมูลทำเป็นครั้งคราว 2-3 เดือนต่อครั้ง
จากการศึกษาครั้งนี้เนื่องจากข้อมูลรายงาน 506 ไม่สามารถเป็นตัวแทนสถานการณ์ได้ จึงควรมีการปรับปรุงระบบการรายงานอย่างเร่งด่วน ควรมีการประชุมชี้แจงระบบระบาดวิทยาแก่เจ้าหน้าที่อย่างน้อยปีละครั้ง และทุกปีมีควรมีการสุ่มตรวจสอบ การบันทึกข้อมูลในระบบ HOSxP ของโรงพยาบาล และการบันทึกการส่งรายงาน 506 ของโรคติดต่อ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น