คุณลักษณะส่วนบุคคลและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการบริหารเวชภัณฑ์ และงานบริการเภสัชกรรมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • บูรภพ จันทร์ใบ Prathatbungpuan Sub-District Health Promoting Hospital, Nong Khai Pravince
  • ชนะพล ศรีฤาชา The faculty of Public Health, khon Kaen University

คำสำคัญ:

บรรยากาศองค์การ, การบริหารเวชภัณฑ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการบริหารเวชภัณฑ์และงานบริการเภสัชกรรมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จังหวัดหนองคาย ประชากรที่ศึกษา คือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานการบริหารเวชภัณฑ์และงานบริการเภสัชกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จังหวัดหนองคาย จำนวน  74  คน  เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่า IOC มากกว่า 0.5 และวิเคราะห์หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.97 เก็บข้อมูลในระหว่างวันที่ 29 มีนาคม 2560 ถึงวันที่ 29 เมษายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ในการหาค่าสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05  ผลการศึกษาพบว่า คะแนนระดับบรรยากาศองค์การ คะแนนระดับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.07 (S.D.= 0.39)และ4.16 (S.D.= 0.39) ตามลำดับ คุณลักษณะส่วนบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนบรรยากาศองค์การ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับปฏิบัติงานการบริหารเวชภัณฑ์และงานบริการเภสัชกรรมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จังหวัดหนองคาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.614, p-value <0.001) ตัวแปรบรรยากาศองค์การมิติด้านความรับผิดชอบ  และมิติด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน   สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานการบริหารเวชภัณฑ์และงานบริการเภสัชกรรมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย ได้ร้อยละ 45.8 ปัญหาและอุปสรรค ส่วนใหญ่ คือ การบริหารเวชภัณฑ์ ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปวางแผนพัฒนางานการบริหารเวชภัณฑ์และงานบริการเภสัชกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข;2555.

2. คณะทำงานจัดทำคู่มือเภสัชกรรมปฐมภูมิ. คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพ : สำนักงานแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

3. Schermerhorn, J.R., Hunt, G, & Osborn, N.Organizational behavior. New York: Wiley; 2003.

4. Litwin, G.H., & Stringer, R.A. Motivation and organization climate. Boston:Division of research Harvard University Graduate School of Business Administration. ; 1968.

5. สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 กระทรวงสาธารณสุข.เอกสารแบบประเมินอำเภอ/ตำบลจัดการสุขภาพบูรณาการ ติดดาว ปี 2559 อุดรธานี : สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8; 2559.

6. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว). นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559.

7. สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 กระทรวงสาธารณสุข.สรุปการประเมินอำเภอ/ตำบลจัดการสุขภาพบูรณาการติดดาว ปี 2559.อุดรธานี : สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8; 2559.

8. Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2 ed. New York: LawrenceErlbaum Associates; 1988.

9. Likert R. The Human Organization. New York:McGraw-Hill ;1976.

10. สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

11. Elifson, Kirk W. and Others. Fundamentals ofSocials Statistics. 2nd ed. New York : McGraw–Hill, Inc; 1990.

12. พรพิมล จิตธรรมมา, ชนะพล ศรีฤาชา. การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอจังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2558; 22(1): 9-21.

13. อุเทน จิณโรจน์, วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. ลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยในการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่6 ขอนแก่น 2557; 21(1):63-74.

14. ธรรมนูญ บุญจันทร์, วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. ลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุขขอนแก่น 2556; 25(293): 30-3.

15. สมหมาย คำพิชิต, วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยมข 2556; 6(1): 21-9.

16. สมหมาย ชาน้อย, ชนะพล ศรีฤาชา. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยบริการปฐมภูมิ (JHCIS) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2558; 7(3):129-36.

17. กาญจนา พิทักษ์วาณิชย์, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรโรงพยาบาลบัวใหญ่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข2559; 16(1): 90-103.

18. สุรชัย พิมหา, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารในการปฏิบัติงานของผู้อำานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบล ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2558;15(1): 79-88.

19. สมยศ นาวีการ. การบริหารและพฤติกรรมองค์การ.พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บรรณกิจ;2543.

20. เกษมชาติ จ่าสิงห์, วิทัศน์ จันทร์โพธิ์ศรี. บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของผู้อำานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบลในจังหวัดขอนแก่น. การประชุมวิชาการเสนอผลงานระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ประจำาปี 2557. วันที่16 กรกฎาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์;2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-20