ประสิทธิภาพของการค้นหามะเร็งท่อน้ำดีของประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงในพื้นที่เขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ตามโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
มะเร็งท่อน้ำดี, อัลตราซาวด์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้ามีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีของประชากรกลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 1,000 รายในพื้นที่เขตอำเภอ โพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ตามโครงการCASCAP ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วย 20 ราย (ร้อยละ 2) ที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพิ่มเติมเนื่องจากสงสัยความผิดปกติจากการคัดกรองด้วยอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน 10 ราย ใน20 ราย ที่สงสัยความผิดปกติจากการตรวจอัลตร้าซาวด์ ตรวจพบความผิดปกติที่สงสัยมะเร็งตามอวัยวะต่างๆ 1 ราย มีผลลบลวงจากการตรวจคัดกรอง ค่าพยากรณ์บวก คิดเป็นร้อยละ 50 ตรวจพบมะเร็งชนิดต่างๆร้อยละ 1ความชุกของโรคมะเร็งในช่องท้องร้อยละ 1.1 ความไวและความจำเพาะคิดเป็นร้อยละ 90.91 และ 98.99 ตามลำดับ มีผู้ป่วยที่สงสัย Cholangiocarcinoma รวมทั้งสิ้น 8 ราย (มีผู้ป่วยที่ติดตามการรักษาเนื่องจากสงสัย Early Cholangiocarcinoma 2 ราย และ ผู้ป่วยปฏิเสธการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม1 ราย) และ 4 ใน 5 รายที่เหลือ หรือ ร้อยละ 80 เป็น Curative Resectable Stageการตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีของประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงในพื้นที่เขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ตามโครงการ CASCAPมีประสิทธิภาพดีเนื่องจากมีค่าความไวค่อนข้างสูง อีกทั้งสามารถทำให้พบรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งและมะเร็งท่อน้ำดีระยะเริ่มต้นส่งผลให้ผลการรักษาของผู้ป่วยดีขึ้น
References
2. Charbel H, Al-Kawas FH. Cholangiocarcinoma:epidemiology, risk factors, pathogenesis, anddiagnosis. Curr Gastroenterol Rep 2011;24(2):182-7.
3. Shaib Y, El-Serag HB. The epidemiology ofcholangiocarcinoma. Semin Liver Dis 2004;24(2):115-25.
4. SripaB,PairojkulC.Cholangiocarcinoma:lessonsfrom Thailand. Curr Opin Gastroenterol 2008;24(3):349-56.
5. Attarasa P, Sriphung H. Cancer incidence inThailand. Bangkok: Ministry of Public Health,Ministry of Education; 2004-2006.
6. Khuntikao N. Current cocept in manangement of cholangiocarcinoma:SrinagarindMedicalJournal 2005 ;20(3):1-7.
7. YeoCJ, PittHA,CameronJL.Cholangiocarcinoma. Surg Clin North Am 1990; 70:1429-47.
8. Yazici C, Niemeyer DJ, lannitti DA, Russo MW. Hepatocellular carcinoma and cholangiocarcinoma: an update. Expert Rev Gastroenterol Hepatol
2014;8(1):63-82.
9. Rizvi S, Gores GJ. Pathogenesis, diagnosis, and management of cholangiocarcinoma. Gastroenterology 2013 ;145(6):1215-29.
10. SungkasubunP,SiripongsakunS,Akkarachinorate K, Vidhyarkorn S, Worakitsitisatorn A,Sricharunrat T, et al. Ultrasound screening forcholangiocarcinoma could detect premalignantlesions and early-stage diseases with survivalbenefts. BMC Cancer 2016;16:346.
11. Chamadol N, Pairojkul C, Khuntikeo N,Laopaiboon V, Loilome W, Sithithaworn P.Histology confrmation of periductal fbrosis fromultrasound diagnosis in cholangiocarcinomapatients. Japanese Society of Hepato-BiliaryPancreatic Surgery 2014;21:316-22.
12. Mizuma Y, Watanabe Y, Ozasa K, Hayashi K,Kawai K. Validity of sonographic screening for the detection of abdominal cancers. J clin Ultras
2002; 30(7):408-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น