ปัจจัยการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุวิชัย ถามูลเลศ Phon district health office, KhonKaen province
  • ประจักร บัวผัน Administration, Faculty of Public Health, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross – sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 248 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามมากกว่า 0.50 ทุกข้อค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.97 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่า ระดับปัจจัยการบริหารภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.77 (S.D. =0.44) ระดับปัจจัยแห่งความสำเร็จภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.86 (S.D. = 0.50) และระดับการปฏิบัติงาน
เฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ภาพรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 3.95 (S.D. = 0.44) และพบว่าภาพรวมของปัจจัยการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์ระดับสูงทางบวกกับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.605, p-value < 0.001, r = 0.735, p-value < 0.001)ตัวแปรปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการพัฒนาภาพลักษณ์ของสถานบริการโดยการพัฒนาคุณภาพการบริการและด้านความเชื่อมโยงระหว่างทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกับทีมแม่ข่าย ปัจจัยการบริหารด้านการบริหารจัดการและด้านบุคลากร ทั้ง 4 ตัวแปรสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่นได้ร้อยละ 66.4 ปัญหาอุปสรรค บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีหน้าที่รับผิดชอบหลายหน้าที่รวมถึงขาดความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 2; กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2559.

2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ฉบับปรับปรุงใหม่ 2555. กรุงเทพฯ:ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

3. สันติ ธรณี, ประจักร บัวผัน. การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในรพ.สต.จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารงานวิจัย มข.(บศ).2557; 14(1):89-104.

4. ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ขอนแก่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

5. วุฒิศักดิ์ คำภาษี, วิทัศน์ จันทร์โพธิ์ศรี. ปัจจัยสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานควบคุมโรคในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2554; 18(3):22-33.

6. ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ลัดดา ดำริการเลิศ,สุพัตรา ศรีวณิชากร, เกษม เวชสุนทรานนท์. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.

7. โกศล ศิริจันทร์. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานสุขศาลาของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น[วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.

8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. รายงานผลการประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา).

9. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ทะเบียนรายชื่อทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล.ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น;2559. (เอกสารอัดสำเนา).

10. Cohen J. Statistical power analysis for thebehavioral science. 2nd ed. Hill Seale, N.J:Lawrenge Erlbaum Associates; 1988.

11. Likert. Attitude theory and measurement. NewYork: Wiley & Son; 1967.

12. สำเริง จันทรสุวรรณ สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.ขอนแก่น:ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547

13. Elifson, K. Fundamental of social statistics. NewYork : McGraw-Hill; 1990.

14. รัชนีกร กุญแจทอง, ชนะพล ศรีฤาชา. การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6ขอนแก่น 2555; 19(2): 17-26.

15. พยุดา ชาเวียง. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-15