การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

สมบัติ ทั่งทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของ อสม.  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม คือ อสม. จำนวน 385 คน ผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 385 คน และบุคลากรด้านสุขภาพ จำนวน 15 คน กระบวนการพัฒนาประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นดำเนินการ และ 3) ขั้นประเมินผล  เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและความรู้ของ อสม.  ซึ่งผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาและมีค่าความเชื่อมั่นแอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ 0.74 และมีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.75  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนาด้วยสถิติ Paired t-test  ระยะเวลาในการทำวิจัย กันยายน 2566 -มีนาคม 2567


              ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของ     อสม. ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ชุมชน ร่วมวางแผนและกำหนดบทบาทหน้าที่ของทีมสุขภาพ 2) การพัฒนาศักยภาพ อสม.ตามแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของกรมอนามัย 3) การดูแลป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโดยทีมสุขภาพชุมชน (Stroke Care Team) โดยการมีส่วนร่วมของ อสม. 4) การคืนข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน   เมื่อสิ้นสุดการพัฒนารูปแบบ พบว่า อสม. มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง สูงกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  และพบว่าบุคลากรทางด้านสุขภาพและผู้สูงอายุในชุมชน มีความพึงพอใจของต่อรูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของ อสม. อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ตามลำดับ รูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของ อสม.  เป็นรูปแบบที่ดีสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน  ซึ่งจะเห็นผลลัพธ์ในการลดอัตราป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Cardiovascular accident. 2023. [ Internet]. [ cited 2023 August 15]. Available from https://www.emro.who.int/health-topics/stroke-cerebrovascular-accident/index.html

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. สถิติโรคหลอดเลือดสมอง. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2566, 15 สิงหาคม]; เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/odpc11//news.php?news=38037&deptcode=odpc11

ศิริพันธุ์ สาสัตย์. การพยาบาลผู้สูงอายุ : ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางการดูแล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

กรุณา ประมธูลสินทรัพย์ วัลภา สุนทรนัฏ และวารินทร์ วัฒนานนท์เสถียร. การรับรู้สัญญาเตือนโรคหลอดเลือดสมองและการจัดการผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2561; 24(1): 41 – 54.

สุชาดา ธงชาย. ปัจจัยทำนายความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือสมองของผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในจังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

จารุณี กันธุ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2565; 9(3): 19 – 35.

กระทรวงสาธารณสุข. สถิติโรคหลอดเลือดสมองจังหวัดฉะเชิงเทรา. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566, 15 สิงหาคม]; เข้าถึงได้จาก https://medinfo.dms.go.th/public-health/page_kpi.php?kpi_year=2566

ศิริรักษ์ ปานเกตุ และพรสุข หุ่นนิรันดร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เขตสุขภาพที่ 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2565; 7(7): 132 – 148.

ศีล เทพบุตร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโณคหลอดเลือดสมองที่บ้าน.สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2563; 17(3): 112 – 124.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Psychological measurement 1970;

- 610.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โครงการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2560 ระยะที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ; 2561.

Nutbeam D. Health Literacy as public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International, 2000; 15 (3): 259-267.

ณฐา เชียงปิ๋ว วราภรณ์ บุญเชียง และศิวพร อึ้งวัฒนา. ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร 2565; 32(2): 65 - 77.