สถานการณ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลภายหลังนโยบายยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) จังหวัด พิษณุโลกภายหลังนโยบายยกระดับสถานีอนามัยเป็น รพ.สต.เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก,การสนทนากลุ่มและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล คือ ผู้อํานวยการรพ.สต. จํานวน 14 คน ผู้อํานวยการโรงพยาบาลหรือสาธารณสุขอําเภอหรือผู้รับผิดชอบงานปฐมภูมิของหน่วยบริหารเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP) จํานวน 10 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า นโยบายยกระดับสถานีอนามัยเป็น รพ.สต. เป็นการพัฒนาที่สอดคล้องเป็นไปตามทิศทางการพัฒนา บริการปฐมภูมิ มีการกําหนดจัดรูปแบบเป็นรพ.สต.เดี่ยวและรพ.สต.เครือข่ายอย่างชัดเจนตามหลักภูมิศาสตร์และความเหมาะสมใน การบริหารจัดการ ส่วนใหญ่ไม่มีการช่วยเหลือแบ่งปันใช้ทรัพยากรร่วมกันจริง มีคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.ตามเกณฑ์ของ กระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ยังเป็นกลุ่มที่มีบทบาทนําในคณะกรรมการ การปรับปรุงด้านกายภาพมีผลดีอย่างมาก เพราะทําให้ประชาชนเห็นความเปลี่ยนแปลง ภาพลักษณ์ดูดี เหมาะสมกับคําว่าโรงพยาบาล ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ทาง การแพทย์ ครุภัณฑ์ไม่ตรงตามความจําเป็นและครุภัณฑ์มีคุณภาพต่ํา งบประมาณที่รพ.สต. ได้รับส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง จํานวน บุคลากรยังขาดและไม่ครบตามเกณฑ์ที่กําหนด กระบวนการทํางานมีทั้งเชิงรุกและเชิงรับมากขึ้น มีการสนับสนุนและการเชื่อม บริการจากโรงพยาบาลแม่ข่ายทั้งการจัดบริการ, ทรัพยากร เวชภัณฑ์, บุคลากร,องค์ความรู้ การพัฒนาคุณภาพ ฯลฯ ปัญหาอุปสรรค คือ การขาดแคลนกําลังคนและการบริหารจัดการหน่วยบริหารเครือข่าย การแก้ไขปัญหาบุคลากรสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดต้อง แก้ไขปัญหาโดยภาพรวมและใช้การจัดการเครือข่ายสุขภาพอําเภอในการบริหารจัดการเครือข่าย คําสําคัญ: สถานการณ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลนโยบายยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สำนักวิจัยและพัฒนาสุขภาพชุมชน(สพช.)สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.รายงานสถานการณ์ระบบบริการปฐมภูมิปี2554.นครปฐม:สำนักวิจัยและพัฒนาสุขภาพชุมชม:2555
WHO. Health System: Principle Integrated CareWorld Health Report 2003. Geneva, Switzrland:World Health Organization;2003
WHO. Primary Health Care: Now Mere Than Ever The World Health Report 2008. Geneva, Switzrland: World Health Organization;2008
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์,สำนักบริหารการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ,สำนักบริหารการ
สาธารณสุขและสำนักตรวจและประเมินผลกระทรวงสาธารณสุข.รายงานการประเมินน โยบาย
การพัฒนา รพ.สต.ในระยะนำร่องของปีงบประมาณ2552.กรุงเทพฯ:สำนัพิมพ์บ้านสวนศิลป์; 2553.
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. ความเป็นธรรมการใช้บริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของผู้สูงอายุภายใต้
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค).วารสารวิชาการสาธารณสุข.ปี2549: 15: 685-696.
อำพล จินดาวัฒนะ.ข้อเสนอเชิงนโยบาย ทิศทางระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ.นนทบุรี:สำนัก
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ;2552
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินการปฏิบัติตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.).นนทบุรี:มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ:2554
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, วีระศักดิ์ พุทธาศรี, เพ็ญแขลาภยิ่ง และ แพร จิตตินันท์. รายงานผลการประเมินการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิชั้นสูง ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วหน้า. นนทบุรี:สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย:2551
สุพัตรา ศรีวณิชชากร.ปัจจัยผลักคันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากสถานการณ์และ
การพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ.อกสารประกอบการศึกษาภาพอนาคตและเส้นทางสู่หลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้าที่ยั่งยืนของประเทศไทย:สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย:2554
WHO. Harare Declaration : the interregional meeting on strengthening District Health System based on Primary Health Care. Zimbabwe; 1987