การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์เด็กเล็กแบบมีส่วนร่วมในจังหวัดสระบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์เด็กเล็กแบบมีส่วนร่วมในจังหวัด สระบุรี และเพื่อเปรียบเทียบผลการดําเนินงานศูนย์เด็กเล็กที่ใช้รูปแบบที่พัฒนาแล้ว ตัวอย่าง คือศูนย์เด็กเล็กของเทศบาลตําบล 1 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตําบล 1 แห่ง ในอําเภอเสาไห้ จัดเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ผู้ปกครอง องค์กรที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และเด็กในศูนย์เด็กเล็กด้วยเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม 2555 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเชิงปริมาณ คือ ค่าความถี่ สัดส่วน ค่าเฉลี่ย และเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่สําคัญของการจัดการศูนย์เด็กเล็ก คือ ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครอบครัวเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งทุกองค์ประกอบร่วมขับเคลื่อน กําหนดมาตรการดําเนินงานอย่างชัดเจน โดยวิธีจัดการแบบมีส่วนร่วมที่ สําคัญ คือ การสร้างมิตรภาพที่ดี สร้างแรงจูงใจ ประสานงาน วางแผน กําหนดเป้าหมาย และสร้างเครือข่ายการทํางาน ผลจากการ พัฒนาและใช้รูปแบบดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม ความเชื่อมั่นของผู้ปกครอง พฤติกรรมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กดีขึ้น และหลังการใช้รูปแบบการพัฒนานี้ พบว่า เด็กในศูนย์เด็กเล็กมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษาเส้นทางสู่ความสำเร็จของศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหาร
ผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์: 2548.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. นโยบายการถ่ายโอนภารกิจ. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, 2547.
จารึก ปริญญาพล และคณะ. ยุทธศาสตร์พัฒนากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษาเส้นทางสู่ความสำเร็จของศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2548.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. นโยบายการถ่ายโอนภารกิจ. กรุงเทพฯ :กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, 2547.
จารึก ปริญญาพล และคณะ. ยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดหนองบัวลำกู. หนองบัวลำภู :สำนักงานจังหวัดหนองบัวลำกู, 2548.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานโครงการศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่สู่เมืองไทยแข็งแรง.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์
ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2550.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. รายงานการติดตามประเมินผลศูนย์เด็กเล็กในจังหวัดสระบุรีปี 2555. เอกสารอัดสำเนา, 2554.
พิทยา โภนามั้ย. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ ตำบลโพธิ์ศรีสำราญอำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุครธานี (วิทยานิพนธ์
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต),บัณฑิตวิทยาลัย,2550
นิตย์ ทัศนิยม และคณะ. ศึกษาสภาพการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กในจังหวัดขอนแก่น.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2538.
มานพ คณะโต. วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ในระบบสาธารณสุขชุมชน. ขอนแก่น :เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550.
Lincoln. Y.S. and E.G. Guba. Naturalistic Inquiry. Beverly Hills : Sage Publications, 1985.
Drzal, E.V. and others. "Child Care and Low-Income Children's Development : Direct and Moderated Effects," Child Development. 75: 296-312. 2004.
ปรีชา สันรัมย์. การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรม
หาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย, ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น: 2541.
บุญเลิศ ยอดสะเทิน. การส่งเสริมบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลด้านการวางแผนพัฒนาสาธารณสุขระดับตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.
Holly, G. and others. "Peddiatrician-led Community Child Health Initiatives : Case Summaries from the Evaluation of the
Community Access to Child Health Program." Pediatrics. 103(6) : 1394-1419 ; June, 1999.
สนธยา พลศรี. ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์, 2545.
บัณฑร อ่อนคำ และสามารถ ศรีจำนง. การจัดการบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม.เชียงใหม่ : บี เอส การพิมพ์, 2544.
จุฬาภรณ์ โสตะ. กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น : ภาควิชาสุขศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,