การสํารวจหาสารพันธุกรรม ctk4 ยืน ของเชื้อก่อโรคอหิวาตกโรคในคนและสิ่งแวดล้อม เพื่อการเฝ้าระวังเชิงรุกตามแนวชายแดนในอําเภอพบพระ จังหวัดตาก

Main Article Content

สุพร กาวิน
Kazuhisa Okada
ศิริพร จันทน์โรจน์

บทคัดย่อ

ctrAB ยีน เป็นสารพันธุกรรมที่ควบคุมการสร้าง cholera toxin ซึ่งเป็น bacteriophage (CTX6) บน โครโมโซมของเชื้อ Vibrio cholerae เฉพาะเชื้อสายพันธุ์ที่มี CTXg เท่านั้นจะสร้างสารพิษและก่อโรคอหิวาตกโรค ในการนี้พบว่าอําเภอพบพระ จังหวัดตาก มักเกิดการระบาดของโรคอหิวาตกโรคอยู่เป็นประจํา อาจเป็นไปได้ว่าเชื้อ ได้แฝงตัวอยู่ในคน และหรือสิ่งแวดล้อมนั้น จึงได้ทําการสํารวจหา ctk4 ยืนของเชื้อ Vibrio cholerae ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 จากตัวอย่าง rectal swab ทั้งหมดจํานวน 3,509 ตัวอย่าง พบว่า LAMP ctrA บวก 191 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5.4 ประกอบด้วยตัวอย่างจากกลุ่มคนปกติในชุมชนร้อยละ 2.9 ผู้ป่วย ท้องเสียมารับการรักษาที่โรงพยาบาลพบพระร้อยละ 3.8 และผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคร้อยละ 13.3 ในขณะที่ เพาะเชื้อพบ Vibrio cholerae 01, EI Tor, Inaba จํานวน 79 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 2.3 (คนปกติร้อยละ 0 ผู้ป่วยร้อย ละ 1.7 และผู้สัมผัสร้อยละ 8.9) และตรวจตัวอย่างน้ําลําธาร และสาหร่ายหรือพืชน้ํา ตั้งแต่เดือนกันยายน 2553 ถึง เดือนสิงหาคม 2554 จํานวนทั้งหมด 600 ตัวอย่าง พบ LAMP ctk4 บวก จํานวน14 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 2.3 ประกอบด้วยน้ําลําธาร จํานวน 10 ตัวอย่าง และสาหร่าย จํานวน 4 ตัวอย่าง ทั้งนี้การตรวจพบ ctIA ยืนของเชื้อ Vibrio cholerae O1 ในคนปกติ ผู้ป่วย ผู้สัมผัส น้ําลําธาร และสาหร่าย ในพื้นที่ที่มักมีการระบาดเป็นประจํา เป็นที่ เชื่อได้ว่ายังคงมีเชื้อแฝงอยู่ในคน และมีการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมอยู่แต่ในปริมาณน้อย หรืออยู่ในสภาพ viable but non-culturable (VNC หรือVBNC) ทั้งนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการดําเนินงานควบคุมและป้องกันการระบาด ในกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

Farmer Il JJ, Janda JM, Birkhead K. Vibrio. In:Murray PR, Barron EJ, Jargensen JH, PfallerMA, Yolken RH, editors. Manual of clinicalmicrobiology. 8th ed. Washington D.C. :American Society for Microbiology Press;

p.706-18.

Okada K, Chantaroj S, Taniguchi T, Susuki Y,Roobthaisong A, Puiprom O, et al. A rapid,simple, and sensitive loop-mediated isothermalamplification method to detect toxigenic Vibriocholerae in rectal swab samples. Diagn

Microbiol and Infect Dis 2010:66:135-139.

Nathaniel F, Pierce MD, John G, Banwell DM,Sherwood L, Gorbach MD, et al. Convalescent carriers of Vibrio cholerae. Annals of Internal

Medicine 1970:72:357-364.

Faruque SM, Albert MJ, Mekalanos JJ.Epidemiology, genetics, and ecology of toxigenic Vibrio cholerae. Microbiol Mol Biol Rev 1998:62:1301-14.

Swaddiwudhipong W, Ngamsaithong C,Peanumlom P, Hannarong S. An Outbreak of Cholera among Migrants Living in a Thai-Myanmar Border Area. Med Assoc Thai 2008:91(9):1433-40.

Nelson EJ, Harris JB, Morris JG Jr., CalderwoodSB, Camilli A. Cholera transmission: the host,pathogen and bacteriophage dynamic. Nat Rev

Microbiol 2009;7:693-702.

Okada K, Roobthaisong A, Nakagawa I, Hamada S, Chantaroj S. Genotypic and PFGE/MLVA analyses of Vibrio cholerae 1 O1: geographical spread and temporal changes during the 2007-

cholera outbreaks in Thailand. PLoS ONE 2012:7:e30863.

Huq A, Colwell R. Vibrios in the environment: viable but nonculturable Vibrio cholerae. In : Wachsmuth PA, Blake PA, Olsvik O, editors.Vibrio cholerae and cholera: Molecular to global perspectives. Washington D.C. :American Society for Microbiology Press;

p.117-133. American Society forMicrobiology Press; 1994. p.117-133.

Huq A, Sack R. B, Nizam A, Longini I. M, Nair G. B, Ali A. et al. Critical factors influencing the occurrence of Vibrio cholerae in the

environment of Bangladesh. American Society for Microbiology 2005;71:4645-4654.

Colwell R, Brayton P, Huq A, Tall T,Harrington P, Levine M. Serogroup conversion from Vibrio cholerae O1 revert to a culturable state in the human intestine. World J. Microbiol. Biotechnol 1996;12:28-31.