สถานการณ์และข้อเสนอแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการป้องกันและควบคุมโรคระดับอําเภอ

Main Article Content

นพดล เกษจรัล
ไพรัตน์ อ้นอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านบริหารในการป้องกันควบคุมโรคระดับ อําเภอ และ เพื่อเสนอแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในการป้องกันควบคุมโรคระดับอําเภอ วิธีการแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ด้านบริหารโดยสํารวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง 171 คน ใน 5 จังหวัด เขตพื้นที่ เครือข่ายบริการที่ 2 ด้วยแบบสอบถาม มาตราประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยวิธี อัลฟา ครอน บาร์ค ได้เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) ศึกษาข้อเสนอ แนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ การป้องกันควบคุมโรคระดับอําเภอโดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุป


ผลการศึกษา สถานการณ์การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ พบว่า มีการปฏิบัติภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง 6 ด้าน โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1)การนําองค์กร 2)การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ และ 3)การวัด วิเคราะห์และจัดการความรู้ เท่ากับ 3.50, 3.48 และ 3.45 ตามลําดับ ประเด็นย่อยในแต่ละด้านที่มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด คือ 1) ด้านการนําองค์กร ได้แก่ มีการกําหนดยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค และสภาพปัญหาของ พื้นที่ 2) ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ องค์กรมีการสื่อสารและถ่ายทอดขั้นตอนกิจกรรม กรอบเวลา และผู้รับผิดชอบ / ในการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีและนําไปปฏิบัติ 3) ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้ ได้แก่ องค์กรมี วิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลระบาดวิทยาที่ได้มาตรฐานตามที่กรมควบคุมโรคกําหนด เพื่อสนับสนุนการป้องกัน ควบคุมโรค 4) ด้านการให้ความสําคัญกับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ องค์กรมีการกําหนดกลุ่มผู้รับบริการจําแนก ตามยุทธศาสตร์หรือเป้าประสงค์ขององค์กร 5) ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล ได้แก่ บุคลากรทั่วทั้งองค์กรได้รับการ ประเมินผลการปฏิบัติงานมีการแจ้งผลการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร และ 6) ด้านการจัดกระบวนการ ได้แก่ องค์กรมีแผน วิธีการ ในการปรับปรุงหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการป้องกันควบคุม โรคระดับอําเภอ ที่สําคัญมี 3 ประการ คือ 1) การกําหนดเป้าประสงค์ กลยุทธ์ โดยมุ่งเน้นผลผลิตและผลลัพธ์ ซึ่งได้มาจาก ที่ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมระดมความคิด ร่วมตัดสินใจ 2) จัดกระบวนการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายภายนอก กระทรวงสาธารณสุข สร้างบุคลากรที่มีมนุษยสัมพันธ์ในการสร้างความร่วมมือและทํางานในรูปแบบคณะทํางานเพื่อให้ เกิดกระบวนการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพอย่างยั่งยืน และ 3) ควรสร้างมาตรฐานดําเนินการพัฒนา การ ป้องกัน ควบคุมโรคระดับอําเภอ

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

Betty Kirkwood , Lonatban Steme. Essentials of Medical Statistics . Oxford: Blackwell publishing;2003

Kenneth J. Rothman and Sander Greenland, editor. Modern Epidemiology . Lippinkon Williams&Wilkins ; 1998

London School of Hygiene and Tropical Medicine.เอกสารประกอบการเรียน Study design. Master of Sceince in Epidemiology.

London School of Hygiene and Tropical Medicineเอกสารประกอบการเรียน Clinical trial. Master of Sceince in Epidemiology.