การศึกษาผลการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพและการจัดลําดับของปัญหาสุขภาพ จากฐานข้อมูลสุขภาพ จังหวัดลําพูน

Main Article Content

พวงเพ็ญ อ่อนสีบุตร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดปัญหาและจัดลําดับความสําคัญของปัญหา ประกอบด้วย ขนาด และ ความรุนแรงของปัญหาสาธารณสุข ข้อมูลการป่วย และการตายของประชาชน ผลกระทบและภาระในการดูแล ความสูญเสียอันเนื่องจากการตายก่อนวัยอันควร และต้นทุนเฉลี่ยสัมพัทธ์ในการดูแลรักษาพยาบาล เป็นการศึกษา เชิงพรรณา โดยรวบรวมข้อมูลในสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ประกอบด้วยฐานข้อมูลการตายของประชากรที่มี ภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัดลําพูน จากสํานักทะเบียนราษฎร์และสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง ปรับปรุงสาเหตุการเสียชีวิตและให้รหัสโรคจากประวัติการป่วยและเสียชีวิตของสถานบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ2555 และฐานข้อมูลการป่วยใน จากชุดข้อมูลมาตรฐาน 12 แฟ้มของโรงพยาบาลรัฐ 7 แห่ง ปีงบประมาณ 2555 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคํานวณขนาดปัญหาแล้วนํามาถ่วงน้ําหนักคะแนน


ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุการตายลําดับหนึ่ง คือ โรคมะเร็งปอด รองลงมา คือ โรคไตวาย และโรค เลือดออกในสมอง อัตราตายเท่ากับ 33.2, 29.2 และ 19.8 ต่อประชากรแสนคน ตามลําดับ อัตราผู้ป่วยในด้วยสาเหตุ ต่างๆ ที่พบมากที่สุด คือ โรคท้องร่วง และลําไส้อักเสบจากการติดเชื้อ รองลงมาคือ การป่วยด้วยโรคปอดบวม และ โรคโลหิตจางอื่นๆ เท่ากับ 488.2, 403.7 และ 386.9 ต่อประชากรแสนคน ตามลําดับ จากการคํานวณกลุ่ม วินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis related group, DRG) พบว่า โรคที่มีผลรวมของค่าน้ําหนักสัมพัทธ์ สูงเป็นลําดับที่หนึ่ง คือ โรคปอดบวม รองลงมาคือ โรคปอดชนิดอุดกั้นแบบเรื้อรัง และโรคหัวใจล้มเหลว มีผลรวมของค่า RW เท่ากับ 2,425.2 1,726.7 และ 1,154.3 ตามลําดับ ในขณะที่โรคที่มีผลรวมของจํานวนปีที่เสียไปจากการเสียชีวิตก่อนวัยอัน ควร(YLL : Year of Life Lost) สูงเป็นลําดับหนึ่ง คือ โรคไตวาย รองลงมา คือ มะเร็งปอด และเลือดออกในสมอง เท่ากับ 1,593.9 ปี, 1,577.7 ปี และ 1,531.5 ปี ตามลําดับ เมื่อรวมค่าคะแนนที่ได้แต่ละดัชนีแล้วนําผลคะแนนมา จัดลําดับสาเหตุที่เป็นปัญหาสาธารณสุขจังหวัดลําพูน พบว่า โรคที่เป็นปัญหาลําดับที่ 1, 2 และ 3 คือ ปอดบวม ไต วาย และมะเร็งปอด โดยมีคะแนน เท่ากับ 16,14 และ13 ตามลําดับ ประโยชน์ที่ได้รับจากผลการวิเคราะห์และการ จัดลําดับความสําคัญโดยใช้ดัชนีร่วมหลายตัวข้างต้น ทําให้ได้ทราบปัญหาที่สําคัญของจังหวัด ตลอดจนปัญหาที่มี ความสําคัญเร่งด่วนที่แท้จริง ซึ่งต้องนําไปกําหนดเป็นนโยบายและกลยุทธ์ เพื่อดําเนินการแก้ไขให้สอดคล้องกับ ปัญหาของพื้นที่ ตลอดจนกระบวนการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้จะเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่ต่างๆ ได้นําฐานข้อมูลของ จังหวัดมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559). พิมพ์ครั้งแรก.โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมรา

ชูปภัมถั กรุงเทพฯ : 2555. 23-24.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. สุขภาพคนไทย ปี พ.ศ.2543 สถานะสุขภาพคนไทย. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน :2543.

จิตร สิทธิอมรและคณะ. ภาระโรคในคนไทยและแนวคิดเพื่อการเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค.รายงานวิจัย กรุงเทพมหานคระจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2541

เฉลิม ใจอุ่น. ผลการวิเคราะห์และจัดลำดับของปัญหาสุขภาพจากฐานข้อมูลสุขภาพจังหวัดพะเยา.วารสารสาธารณสุขล้านนา 2552 ; 5 : 277-284.

บูรณัชย์ สมุทรักษ์ และคณะ . การวัดระดับความสูญเสียจากโรคที่กระทบต่อสังคมไทย แนวการจัดลำดับปัญหาสุขภาพ.รายงานวิจัย กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2542

ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย . กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม :การพัฒนาและ ประโยชน์ในประเทศไทย รายงานวิจัยพิษณุ โลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร ; 2544