ผลของโปรแกรมการจัดการสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกัน โรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง ตําบลบ้านสวน อําเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ศุภชัย บุณยมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรม จัดการสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ. 2555 ดําเนินการ ระหว่างตุลาคม - ธันวาคม 2555 โดยให้ความรู้แบบมีส่วน ร่วม เยี่ยมทางโทรศัพท์ และเยี่ยมบ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อายุระหว่าง 35 - 59 ปี 66 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 33 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 33 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กําหนดและความสมัครใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired sample T – test และ Independent T- test


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ความรุนแรงของ โรคเบาหวาน รับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการเกิดโรคเบาหวาน มีพฤติกรรมการรับประทาน อาหาร การออก กําลังกาย และการจัดการความเครียด หลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลอง และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05 ) ดังนั้นจึงสามารถนําโปรแกรมจัดการสุขภาพ จากการวิจัยครั้งนี้ ไปใช้กับประชาชน กลุ่มเสี่ยงพื้นที่อื่นที่มีบริบทและคุณลักษณะประชากรคล้ายคลึงกัน เพื่อสร้างการรับรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง และป้องกันโรคเบาหวานหรือโรคเรื้อรังอื่นๆในชุมชนได้

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

ดารณี บุญยไพศาลเจริญ. การพัฒนาและส่งเสริมความรู้ในการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า.วารสารวิชาการรพศ./รพท.ขต4. 2548 : 8 : 71-80.

ศุภวรรณ มโนสุนทร. การพยาบาลโรคเบาหวาน.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด: 2542.

วิชัย เอกพลากร. โรคเบาหวานภาวะก่อนเบาหวานและการควบคุมจัดการผู้ป่วยเบาหวานคนไทย พ.ศ.2547 .วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข2547:1:299-312

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.สรุปผลรายงานประจำปีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.สุโขทัย; 2553:11

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน.สรุปผลการคำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน.สุโขทัย:2553:14

โรงพยาบาลสุโขทัย.สรุปรายงานผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ประจำปีโรงพยาบาลสุโขทัย,สุโขทัย;2553:23-24

เสกสันติ์ จันทนะ .การจัดการสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม.( วิทยานิพนธ์ มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม; 2551.

ศรีเกษ ธัญญวินิชกุล.โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิชาการสาธารณสุข2541:1:113-119.

สุวะรา ลิมป์สดใส.รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน(วิทยานิพนธ์)ขอนแก่นะมหาวิทยาลัยขอนแก่น: 2548.

อรุณีย์ ศรีนวล. การประยุกด์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในอำเภอเขาวง จังหวัดกาพสินธุ์ (วิทยานิพนธ์)

มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2548.