การสอบสวนอุบัติเหตุหมู่รถตู้โดยสารสายพิษณุโลก-แม่สอด เสียหลักพลิกคว่ําตกลงคูน้ําข้างทาง อําเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555

Main Article Content

ปองพล วรปาณิ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการสอบสวนอุบัติเหตุหมู่รถตู้โดยสาร สายพิษณุโลก-แม่สอด เสียหลักพลิกคว่ําตกลงคูน้ํา ข้างทาง อําเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบาดเจ็บและ เสียชีวิต สาเหตุ และปัจจัยของการเกิดอุบัติเหตุหมู่ 2) เสนอแนวทางการควบคุมป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิต จากการเกิดอุบัติเหตุหมู่ในอนาคต วิธีการศึกษา ดําเนินการโดยศึกษาจากข้อมูลย้อนหลังการเกิดอุบัติเหตุ โดย รวบรวมข้อมูลการบาดเจ็บและเสียชีวิต จํานวน 18 ราย จากการบันทึกการรักษาของโรงพยาบาล รายงานการ ชันสูตรศพ สัมภาษณ์แพทย์ พยาบาล ที่รับและดูแลผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ตํารวจเจ้าของคดี ผู้บาดเจ็บและญาติ ศึกษา สภาพสิ่งแวดล้อม ณ จุดเกิดเหตุ ร่วมกับการใช้แบบสอบสวนการบาดเจ็บของสํานักระบาดวิทยา แล้ววิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


ผลการศึกษา พบว่า รถตู้โดยสารสายพิษณุโลก-แม่สอด เสียหลักพลิกคว่ําตกลงคูน้ําข้างทางถนนสายเอเชีย บริเวณตําบลบ้านใหม่สุขเกษม อําเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งสิ้น 18 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตรวม 5 ราย อาการรุนแรงมาก 6 ราย อาการปานกลาง 1 ราย อาการเล็กน้อย 6 ราย


ปัจจัยที่นํามาสู่จากเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้มาจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรบรรทุกผู้โดยสาร เกินกฎหมายกําหนดไว้ และขับรถด้วยความเร็วสูงเมื่อยางรถระเบิดจึงไม่สามารถบังคับรถได้ทันท่วงที และความ รุนแรงก็เพิ่มมากขึ้น เมื่อยางรถระเบิดจึงเกิดการพลิกคว่ําของรถหลายตลบก่อนจะตกลงในคูน้ําข้างทาง การไม่คาด เข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสาร สภาพยางรถที่เก่าเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจํานวนมากในเหตุการณ์ครั้งนี้

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

บริษัท ขนส่ง จำกัด.รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย;2553.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. สถิติจำนวนคดีอุบัติเหตุจราจรทั่วประเทศประจำปีงบประมาณ 2554,http://statistic.police.go.th/traff_main.htm

ณรงค์ ป้อมหลักทอง และคณะ. โครงการมาตรฐานความปลอดภัยของรถโดยสารประจำทาง:การกำหนดมาตรฐานบังคับใช้และการตรวจสอบ.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.);2555

พญาดา ไวยเนตร. รายงานผลการสอบสวนการบาดเจ็บจากจราจรบนถนน กรณีศึกษารถประจำทางและรถบัสเช่าเหมาลำ ระหว่างเคือนมกราคม 2549 -มกราคม 2551. ร้ายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2551: 39: 496-8.

ณัฐกานต์ ไวยเนตร. แนวทางการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน(Road Traffic Injury Investigation). นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข;2549.

มงคล อย่างรัตนโชติ.ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัดสุโขทัยกับจังหวัดอื่นๆ.(วิทยานิพนธ์)เชียงใหม่:

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2548.

พวงเพ็ญ อ่อนสีบุตร. อุบัติการณ์การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกและการกระจายของการเกิดอุบัติเหตุจราจรของอำเภอเมือง จังหวัดสำพูน

ระหว่าง พ.ศ. 2546-2550และ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรระหว่างพ.ศ.2548-2550.เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: 2551.

ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. (พฤษภาคม-มิถุนายน 2551).จดหมายข่าว: สื่อกลางเพื่อร่วมสร้างสุขภาพบนพื้นฐานความรู้. มาตรการรถโดยสารสาธารณะ.(ออนไลนั (สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)http://www.thainhf.org/document/media/media 431.pdf

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานการศึกษาความคุ้มค่าการพัฒนาประสิทธิผลของการปฏิบัติการฉุกเฉินอย่างทันท่วงที่.นนทบุรี : 2554.