ผลการพัฒนางานห้องผ่าตัดต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ โรงพยาบาลสุโขทัย

Main Article Content

ชูใจ วินิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนางานห้อง ผ่าตัดต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ โรงพยาบาลสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาล สุโขทัยจํานวน 13 คนและผู้รับบริการที่ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสุโขทัย จํานวน 120 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ ง่ายโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) แบบ วัดความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิด Eriksen (1988) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ independent samples t-test


ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนางานห้องผ่าตัดสําหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลด้วยการผ่าตัดใหญ่ ประกอบด้วยขั้นตอนการพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาการพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด 2) การพัฒนาการพยาบาล ระยะผ่าตัด 3) การพัฒนาการพยาบาลระยะหลังผ่าตัด 4) การพัฒนาการให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ 5) การ พัฒนาการบันทึกทางการพยาบาล ส่วนผลการทดสอบประสิทธิผลของการพัฒนางานห้องผ่าตัดต่อความพึงพอใจ ของผู้รับบริการ พบว่า ก่อนการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 56.76 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 46.08 ปี ร้อยละ 46.74 จบประถมศึกษา ร้อยละ 30.0 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 61.72 สิทธิบัตรประกันสุขภาพ นอนรักษาใน โรงพยาบาลเฉลี่ย 4.88 วัน ส่วนหลังการทดลอง ร้อยละ 66.78 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 43.92 ปี ร้อยละ 46.73 จบ ประถมศึกษา ร้อยละ 23.34 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 60.00 สิทธิบัตรประกันสุขภาพ นอนรักษาใน โรงพยาบาลเฉลี่ย 4.55 วัน และพบว่า คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการพัฒนางานห้องผ่าตัดภาพรวมและรายด้าน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการทักทาย การต้อนรับที่เป็นมิตร การยิ้มแย้ม แจ่มใส เป็นกันเอง ความสนใจ ไต่ถามความต้องการความช่วยเหลือ การได้รับการเยี่ยมเพื่อประเมินผลก่อนและ หลังผ่าตัด และการอธิบายการเตรียมการและปฏิบัติตัวขณะผ่าตัดคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการพัฒนางานห้อง ผ่าตัดก่อนกับหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัย หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องควรนําแนวทางการพัฒนางานห้องผ่าตัดที่ได้จากการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิด ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่มีคุณภาพ 

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

รุ่งกาล คลังวิจิตร. ผลของการใช้กระบวนการทำงานเป็นทีมของพยาบาลห้องผ่าตัดต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร

มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2546.

สุภาพร พานิชสิติ. สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2550.

วรัตรา แก้ววิชิต. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรพยาบาลงานการพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้นและผ่าตัดโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ :2544

พรธิดา ชื่นบาน. การพัฒนากรอบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดโรงพยาบาลแพร่.(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่ :

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2555.

โรงพาบาลสุโขทัย. รายงานประจำปี 2556. สุโขทัย: โรงพาบาลสุโขทัย ; 2556.

Eriksen L.R. Measuring patient satisfaction withnursing care: A magnitude estimation approach. InF.W. cololyn (ed) Measurment of nursing outcome,523-537. New York springer publishing Company ;

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. นนทบุรี : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก : 2550.