รูปแบบการบริหารจัดการงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารงานและปัจจัยทางการบริหารในการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิง ประชากรที่ศึกษา คือ คณะกรรมการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุระยะยาว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย 5 ตำบล จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพนำข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพใช้ tri-angular ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการด้านบุคลากร ควรมีการพัฒนาหลักสูตรผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ควรมีกาพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับผู้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และควรมีการจัดหาทรัพยากรที่เพียงพอในการดำเนินงาน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้เกิดประสิทธิภาพ
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. การจัดบริการระบบสุขภาพ.กรุงเทพฯ:สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2558;
3. จันทิมา บันลือฤทธิ์, ปรียากมล ข่าน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะการจัดการระบบการดูแลระยะยาวในกลุ่มผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558; 110-123.
4. วสันต์ บุญหล้า, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานนักบริหารสาธารณสุขในเทศบาล เขต 12. วารสารวิจัย มข 2554; 16(6): 693-705.
5. อุเทน จิณโรจน์, วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. ลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยในการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ของแก่น 2557; 21(1): 63-74.
6. ทองหล่อ เดชไทย. หลักการบริหารงานสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:สามเจริญพาณิชย์; 2549.
7. ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
8. Blumberg M, Pringle, C.D. The missing opportunity in organizational research: Some implications for a theory of work performance. Academy of Management Review, (1982);7(4), 560-569
9. กาญจนา พิทักษ์วาณิชย์, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรโรงพยาบาลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. ฉบับบัณฑิตศึกษา 2559; 16(1): 90-103.
10. สุมาลี ลารังสิต, ประจักร บัวผัน. การปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2557; 14(3): 67-80.
11. ละไม ศิริรัมย์, วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี.ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น. ใน:การประชุมวิชาการ เสนอผลงานระดับ บัณฑิตศึกษาแห่งชาติ; 2557. หน้า 625-635