ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของบุคลากรสาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ศักดิ์สิทธิ์ บ่อแก้ว

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 100 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล , อีต้า และ สเปียร์แมน  ผลการวิจัย พบว่า ทรัพยากรในการบริหารงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กระบวนการบริหารงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง และจำนวนการฝึกอบรมงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำมากกับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.262, p-value = 0.008) ทรัพยากรในการบริหารงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.374, p-value < 0.001) ด้านกำลังคนและด้านวัสดุอุปกรณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (r = 0.373, 0.340 ตามลำดับ, p-value < 0.001) และด้านงบประมาณมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำมากกับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.254, p-value = 0.011) และกระบวนการบริหารงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.522, p-value < 0.001) ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการอำนวยการ ด้านการประสานงาน และด้านการรายงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.436, 0.475, 0.424, 0.402, 0.459 ตามลำดับ, p-value < 0.001)

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. กรมกิจการผู้สูงอายุ. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2562.

2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย; 2562.

3. Weihrich H, Koontz H. Management: A Global Perspective. 10th ed. New York: McGraw-Hill; 1993.

4. Gulick LH, Urwick LF, Pforzheimer CH. Papers on the science of administration. New York: Institute of Public Administration, Columbia University; 193712-13

5. Daniel WW. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. 9th ed. New York: John Wiley & Sons; 2010.

6. Best JW. Research is Evaluation. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall; 1977.
7. Hinkle DE, William W, & Stephen GJ. Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. New York: Houghton Mifflin; 1998.

8. ชาญ สวัสดิ์สาลี. คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ: เทคนิคการฝึกอบรมและการจัดสถานที่ประชุม/ ฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร: สวัสดิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน; 2552.

9. วิจิตร อาวะกุล. การฝึกอบรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

10. เมธี ไพรชิต. การหาปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัท สุธานี จำกัด (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี; 2557.

11. พงษ์ศักดิ์ ราชโสภา. ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานโครงการเมืองไทยแข็งแรงของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดสกลนคร (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

12. อุมาภรณ์ ขนันไพร. ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านสุขศึกษาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดขอนแก่น (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

13. Gulick LH, Urwick LF, Pforzheimer CH. Papers on the science of administration. New York: Institute of Public Administration, Columbia University; 1937.

14. ฐิติวรดา อัครภานุวัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554.