ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2

Main Article Content

จอมฤทัย อินทรพาณิช

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ โปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนที่สร้างขึ้นตามแนวคิดของ Bandura ประกอบด้วยความคาดหวังในความสามารถของตนเอง และความคาดหวังในผลของการกระทำ ใช้เวลาดำเนินการ 8 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมการบรรยาย การเสนอตัวแบบด้านดี การสาธิตฝึกปฏิบัติ จัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การอภิปรายผล การฝึกปฏิบัติ  และติดตามเยี่ยมบ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่น  โดยวิธีอัลฟาของคอนบราค (Cronbach alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ และแบบประเมินความสามารถในการการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เท่ากับ 0.86 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่  Paired t- test   


ผลการวิจัยพบว่าหลังให้โปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ และค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นเท่ากับ 4.70 เป็น 10.3, และ1.68 เป็น 2.76 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ข้อเสนอแนะควรนำโปรแกรมไปใช้ในการวางแผนพัฒนาสมรรถนะการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. World Stroke Organization: (WSO). Campaign Advocacy Brochures. [internet]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก
http://www.worldstrokecampaign.org/images/wsd- 017/brochures2017/WSD_brochure_
FINAL_sponsor_.pdf

2. American Heart Association. Heart Disease and Stroke Statistics-2015 update:a report from the American Heart Association,Calculation 2015; 131: 29-322.

3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2557. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึง เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก
https://www.udo.moph.go.th/

4. กองโรคไม่ติดต่อ สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2019/10/17959

5. แผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.udo.moph.go.th/docs_temp/plan2561.pdf

6. สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. โรคหลอดเลือดเสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์.[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.pni.go.th/pnigoth/wp-content/uploads/2019/12/cpgforischemicstroke2019.pdf

7. พัชราภรณ์ สิรินธรานนท์. โปรแกรมการสอนแนะผู้ดูแลต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2558

8. วาสนา มูลฐีและคณะ. ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองและญาติผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันภาวะแทรกซ้อน และความพึงพอใจของผู้ป่วย. วารสารสภาการพยาบาล 2559; 31: 95-110

9. นิชธิมา ศรีจำนงและคณะ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารพยาบาลราชนนี กรุงเทพ 2560; 26:113-118.

10. อมรวรรณ กวีภัทรนนท์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจาก
โรงพยาบาลสู่บ้าน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 2556; 25:93-105.

11. Bandura, Albert. Self – efficacy : The exercise of control. New York : W.H. Freeman and company; 1997.

12. ดร.นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. หัวข้อสถิติที่น่าสนใจสำหรับการวิจัย สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=860

13. พรทิพย์พา ธิมายอม. ผลการใช้โปรแกรมพัฒนาการรับรู้ ความสามารถของตนที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้รับบริการอัมพาตครึ่งซีก. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: 2554

14. Bloom, Benjamin. Taxonomy of education obectives the classification of educational Goals handbook I: Cognative domain. New York : David Mckay; 1970.

15. จินดา รัตนกุล. ผลของการให้การพยาบาลระบบสนับสนุน ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาล มหาสารคาม 2562;16: 114-120