การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของประชาชนในอำเภอสอง จังหวัดแพร่ พ.ศ. 2561

Main Article Content

วีรพงษ์ ชมภูมิ่ง

บทคัดย่อ

การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก


ของประชาชนในอำเภอสอง จังหวัดแพร่ พ.ศ. 2561


Perceptions of Health and Behavioral in prevention Dengue hemorrhagic fever among people in Song district Phrae Province 2018


 


วีรพงษ์  ชมภูมิ่ง, ส.ม. (Weerapong Chompooming, M.P.H.)*.


สวัสดิ์   ดวงใจ, ส.บ.(Sawad Doungjai , B.P.H)**


สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสอง  จังหวัดแพร่


 


บทคัดย่อ


การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตอำเภอสอง จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนตัวแทนครัวเรือนในเขตอำเภอสอง จังหวัดแพร่ จำนวน 376 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic sampling) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบราค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สถิติที่ใช้ ได้แก่    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการศึกษา พบว่า


  1. การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตอำเภอสอง จังหวัดแพร่ อยู่ในระดับสูงร้อยละ 65.42  พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับสูง ร้อยละ  79.79

  2. การรับโดยรวมมีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตอำเภอสอง จังหวัดแพร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.120, p-value= 0.016) โดยเมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า การรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.102, p-value= 0.041) ส่วนการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความรุนแรงไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตอำเภอสอง จังหวัดแพร่

* นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสอง จังหวัดแพร่


** นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสอง จังหวัดแพร่


คำสำคัญ : การรับรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ