ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมในการลดน้ำหนักของนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

Viyada Dilokwattana

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมในการลดน้ำหนักของนักเรียนที่
มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย รูปแบบเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 กิโลกรัม/ตารางเมตรขึ้นไป จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่ม
ทดลอง จำนวน 40 คนและกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมในการลด
น้ำหนัก เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง ระยะเวลาในการศึกษา 12 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Two-independent Student’s t-test Paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการลดน้ำหนัก สามารถทำให้นักเรียนกลุ่มทดลองมีการ
เปลี่ยนแปลงในด้านความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนและการลดน้ำหนัก การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความคาดหวังใน
ผลลัพธ์การลดน้ำหนัก พฤติกรรมการลดน้ำหนัก โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่ม
ควบคุม มีดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลง ต่ำกว่าก่อนทดลองและต่ำกว่ากลุ่มควบคุม เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) ส่วนกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยในเรื่อง ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนและการลดน้ำหนัก การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการลดน้ำหนัก ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ในการลดน้ำหนัก พฤติกรรมการลดน้ำหนัก ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) แตกต่างกันไม่มากนักเมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าไม่มีความแตกต่างกันจากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่า โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมในการลดน้ำหนัก สามารถทำให้นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรืออ้วน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมการลดน้ำหนักไปในทางที่ดีขึ้น สามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ ดังนั้นจึงควรนำรูปแบบไปใช้กับนักเรียนในระบบการศึกษา กับวัยรุ่นโดยทั่วไป หรือประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหากับประชาชนที่อ้วนมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือมีโรคเรื้อรัง

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. World Health Organization. BMIclassification. WWW.http://apps.who.int/bmi/index.80jsp?introPage=intro_3.html Retrieved 1 March2018.

2. สาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย, สา นักงาน. รายงานงานโภชนาการ, 2560.

3. นภมาศ ศรีขวัญ. ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อพฤติกรรมการลดน้า หนัก การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และพฤติกรรมการลดน้า หนักของวัยรุ่นหญิง.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2554.

4. Mohsuwan L. The nutritional status of children.Report of public health Thailand by physical examination 4th. [Internet]. 2011 [cited 2015 Jan 15]. Available from:http://www.hiso.or.th/hiso5/report/report 1.php

5. Keawkangwan S. Developmental psychology life at all ages. 9thed. Bangkok:Thammasat University; 2010.

6. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

7. ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ และสุรีย์ จันทรโมลี.ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม: แนวคิดทฤษฎีและการนา ไปใช้ในการดา เนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กองสุขศึกษา สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552.

8. รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์:แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2552.

9. วัชราภรณ์ ภูมิภูเขียว. ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกา กับตนเองร่วมกับทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในการลดน้ำหนักของข้าราชการอา เภอนาแห้ว จังหวัดเลย.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2556.

10. ฐิติมา บา รุงญาติ. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดการกากับตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดน้า หนักของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ โรงเรียนกัลยาณวัตร จ.ขอนแก่น.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.

11. อัจฉรา คา เขื่อนแก้ว. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่มีน้า หนักตัวเกินมาตรฐาน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2552.

12. กุสุมา เถาะสุวรรณ. “ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความสามารถของตนเองต่อการรับรู้การปฏิบัติตนและน้า หนักตัวของนักเรียนวัยรุ่นหญิงที่มีน้า หนักเกินมาตรฐาน อำเภอหล่มสัก จ.เพชรบูรณ์”, วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 1 (มกราคม2556): 32-41.

13. กุสุมา สุริยา. ประสิทธิผลของโปรแกรมลดน้ำหนัก โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดการกา กับตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมของพยาบาลปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหนองบัวลา ภู จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหา
บัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2556.

14. Iamsuphasit, S. Theories and Techniques in Behavior Modification. 10th ed. Bangkok: Chulalongkorn University; 2007.

15. Kaeokhamkoeng, K., Triphetsiurai, N. Health Literacy. Bangkok: New Thammada Press (Thailand) Co.,Ltd; 2011.