แบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษในเขตสุขภาพที่ 2 และจังหวัดพิจิตร ระหว่าง ปีงบประมาณ 2556 – 2560

Main Article Content

เสาวนิตย์ บุณพัฒนศักดิ์
กมลรัตน์ ศิริโยธา

บทคัดย่อ

อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ ที่ปนเปื้อนเชื้อ  รวมทั้งอาหารที่ปรุงไว้นานโดยไม่แช่เย็นหรือไม่ได้อุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ ที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำแข็ง เครื่องดื่มและภาชนะสัมผัสอาหาร โดยตรวจเพาะเชื้อตัวอย่างอาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำแข็ง เครื่องดื่มและจากภาชนะสัมผัสอาหารจากแหล่งที่เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ในเขตสุขภาพที่ 2 จำนวน 5 จังหวัดคือ จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก โดยมีสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก โรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 2 และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร เป็นผู้เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 – 2560 จำนวน 328 ตัวอย่าง พบแบคทีเรียที่บ่งชี้สุขลักษณะการผลิตอาหารและเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษ คิดเป็นร้อยละ 32.7, 33.3, 40, 21.1, 35.4 ตามลำดับ รวมพบเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษทั้งหมด 108 ตัวอย่าง ร้อยละ 32.9 ได้แก่ Escherichia coli จำนวน 49 ตัวอย่าง ร้อยละ 14.9, Bacillus cereus จำนวน 31 ตัวอย่าง ร้อยละ 9.5, Staphylococcus aureus จำนวน 28 ตัวอย่าง ร้อยละ 8.5 , Salmonella spp. จำนวน 13 ตัวอย่าง ร้อยละ 3.9, Clostridium perfringens จำนวน 2 ตัวอย่าง ร้อยละ 0.6, Vibrio cholerae non O1 จำนวน 2 ตัวอย่าง  ร้อยละ 0.6 และ Vibrio parahaemolyticus จำนวน 1 ตัวอย่าง ร้อยละ 0.3  และ Coliform bacteria แบคทีเรียที่บ่งชี้สุขลักษณะการผลิตอาหาร จำนวน 48 ตัวอย่าง ร้อยละ 14.6 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าอาหารและน้ำจากแหล่งที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่ ได้แก่ จังหวัดตาก มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอาหารเป็นพิษได้บ่อยครั้ง และพบปนเปื้อนเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษชนิด Escherichia coli มากกว่าเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษชนิดอื่น เชื้อนี้พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะในลำไส้ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและคน ถูกขับถ่ายออกมาพร้อมกับอุจจาระและปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ ที่เกิดจากการบริโภค หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้แก่ประชาชนให้ตระหนักในการเลือกบริโภคอาหารและน้ำที่สะอาดเพื่อความปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. พวงทอง ไกรพิบูลย์. อาหารเป็นพิษ (Food poisoning). [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2562]; เข้าถึงได้จาก: http://haamor.com/th/อาหารเป็นพิษ/

2. อาหารเป็นพิษภาวะอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2561]; เข้าถึงได้จาก: http://.honestdocs.co/food-poisoning-should-not-be-overlooked
3. จินต์ศุจี กอบกุลธร, นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์, กรรณิการ์ หมอนพังเทียม. สถานการณ์โรคอาหาร เป็นพิษในประเทศไทย ปี พ.ศ.2557. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2561]; เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/

4. นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์, กรรณิการ์ หมอนพังเทียม, จินต์ศุจี กอบกุลธร. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2557. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2561]; เข้าถึงได้จาก:http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR/2015/aesr2558/Part/201/.../food_poisoning.pdf

5. นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2558. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2561]; เข้าถึงไดhจากhttp://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR/2015/aesr2558/Part/201/.../food_ poisoning.pdf

6. รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ เฝ้าระวังโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วง แนะเพิ่มความระวังในการรับประทานอาหารและน้ำ [อินเทอร์เน็ต]. 2558; [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2561]; เข้าถึงได้จาก: http://www.thaigov.go.th/new/contents/3567.

7. รายงานประจำปีศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 พิษณุโลก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2553.

8. รายงาน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 พิษณุโลก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2554.

9. รายงาน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 พิษณุโลก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2555.

10. Feng P, Weagant SD, Grant MA, Burkhardt W. Bacteriological Analytical Manual: Eumeration of Escheichia coli and the coliform bacteria. [Internet]. 2017 [cited 2017 Feb 1]. Available from: http://www.fda.gov/FoodScienceResearch/Laboratory-Methods/ucm064948.htm

11. Bennett RW, Lancette GA. Bacteriological Analytical Manual: Staphylococcus aureus. [Internet]. 2016 [cited 2017 Feb 1]. Available from: http://www.fda.gov/FoodScienceResearch/Laboratory-Methods/ucm071429.htm

12. Rhodehamel EJ, Harmon SM. Bacteriological Analytical Manual: Bacillus cereus. [Internet]. 2012 [cited 2017 Feb 1]. Available from: http://www.fda.gov/FoodScienceResearch/Laboratory-Methods/ucm070875.htm

13. International Organization for Standardization 6579. Microbiology of food and animal feeding stuffs – Horizontal method for the detection of Salmonella spp. 2002

14. International Organization for Standardization /Technical Specification 21872-1. Microbiology of food and animal feeding stuffs- Horizontal method for the detection of potentially enteropathogenic Vibrio spp. – Part 1: Detection of Vibrio parahaemolyticus and Vibrio cholerae. 2007.

15. Rich EW, Baird RB, Eaton AD, Clesceri LS, editors. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. 22nd ed. Washington, American Public Health Association-American Water Works Association. 2012.

16. International Organization for Standardization 19250. Water quality – Detection of Salmonella spp.; 2010.

17. International Organization for Standardization 14189. Water quality-Enumeration of Clostridium perfringens-Method using membrane filtration. 2013.

18. กระทรวงสาธารณสุข พระราชบัญญัติอาหาร 2522. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 (พ.ศ. 2536) เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 130 , ตอนพิเศษ 148 ง (ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2556)

19. กระทรวง พระราชบัญญัติอาหาร 2522. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2524) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. 98 ร.จ. 52, ตอนที่ 157 (ฉบับพิเศษ แผนกราชกิจจาฯ) (ลงวันที่ 24 กันยายน 2524)

20. กระทรวง พระราชบัญญัติอาหาร 2522. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 78 (พ.ศ. 2527) เรื่อง น้ำแข็ง. (101 ร.จ. 9, ตอนที่ 23 (ฉบับพิเศษ แผนกราชกิจจาฯ) (ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2527)

21. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 (ลงวันที่ 11 มกราคม 2560)

22. จิราภรณ์ เพชรรักษ์, สุภาทินี โสบุญ, สุนันทา อุไรโรจน์. คุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและน้ำแข็งในประเทศไทย. ใน: การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
ครั้งที่25. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ; 2560. หน้า 162.

23. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. บาซิลัส ซีเรียส แบคทีเรียที่มากับอาหาร. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2561]; เข้าถึงได้จาก: http://www.thaigcd.ddc.moph.go.th

24. Staphylococcus aureus. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2561]; เข้าถึงจาก http://www.thaigov.go.th/new/contents/3567

25. สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม. คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2561]; เข้าถึงได้จาก:http://fic.nfi.or.th/foodsafety

26. สุวรรณา เทพสุนทร. Food Poisoning. Bureau of Epidemiology, DDC, MPH. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2561]; เข้าถึงได้จาก: http://www boe.moph.go.th/fact/Food_Poisoning.htm