ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการใส่ชุดอุปกรณ์จำกัดการเคลื่อนไหวของแนวกระดูกสันหลังอย่างถูกต้องเหมาะสม ขณะถูกนำส่งโรงพยาบาลโดยทีมอาสาฉุกเฉินการแพทย์ (อฉพ.) หรือ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (พฉพ.)

ผู้แต่ง

  • Fasai Rattanaburee
  • Phummarin Saelim
  • Jutarat Jorarat

คำสำคัญ:

Spinal motion restriction, Prehospital, EMS personnel

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

    สภาพปัญหา การจำกัดการเคลื่อนไหวของแนวกระดูกสันหลังอย่างถูกต้องในผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บขณะนำส่งโรงพยาบาลมีความสำคัญต่อการป้องกันการบาดเจ็บของระบบประสาทไขสันหลัง

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหาสาเหตุ และปัจจัยที่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ถูกนำส่งโดยหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐานไม่ได้รับการจำกัดแนวกระดูกสันหลังอย่างถูกต้อง

วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปหน้า ระหว่างวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2562 ถึง 20 พฤศจิกายน

พ.ศ.2562 ในผู้ป่วยเชื้อชาติไทยที่อายุมากกว่า 18 ปี ซึ่งได้รับบาดเจ็บ และถูกนำส่งโดยหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐานที่ถูกนำส่งห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยการทำแบบสอบถามโดยพยาบาลคัดกรอง และแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และทบทวนเวชระเบียน

ผลการวิจัย มีผู้ป่วยในการศึกษาทั้งหมด 428 ราย โดยมีเพียงร้อยละ 25 ที่ได้รับการใส่อุปกรณ์จำกัดการเคลื่อนไหวของแนวกระดูกสันหลังได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นผู้ป่วยอีเอสไอระดับ 3-5 ร้อยละ 85.5 โดยเป็นอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ร้อยละ 65 และปัจจัยหลักที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการใส่อุปกรณ์ คือ ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการบาดเจ็บของแนวกระดูกสันหลังร้อยละ 44.4 นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัจจัยด้านอื่นที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการใส่อุปกรณ์ เช่น ระดับอีเอสไอที่ 3-5 เมื่อเทียบกับระดับที่ 1-2 (OR 3.75, p ≤ 0.001, 95%CI 2.15,6.65)

สรุป นอกจากสาเหตุและปัจจัยที่ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐาน แล้วยังมีปัจจัยด้านอื่นๆที่พบจากการทำการศึกษา คือ ระดับอีเอสไอ สาเหตุการบาดเจ็บ และประวัติดื่มสุรา

คำสำคัญ Spinal motion restriction EMS personnel Prehospital

References

เอกสารอ้างอิง
1. Stroh G, Braude D. Can an out-of-hospital cervical spine clearance protocol identify all patients with injuries? An argument for selective immobilization. Ann Emergency Med. 2001 Jun; 37(6):609–15.
2. Meldon SW, Brant TA, Cydulka RK, Collins TE, Shade BR. Out-of-hospital cervical spine clearance: agreement between emergency medical technicians and emergency physicians. J Trauma. 1998 Dec; 45(6):1058–61. 1.
3. Kwan I, Bunn F. Effects of prehospital spinal immobilization: a systematic review of randomized trials on healthy subjects. Prehospital Disaster Med. 2005 Feb; 20(1):47–53.
4. Horodyski M, DiPaola CP, Conrad BP, Rechtine GR. Cervical collars are insufficient for immobilizing an unstable cervical spine injury. J Emergency Med. 2011 Nov; 41(5):513–9.
5. Domeier RM, Swor RA, Evans RW, et al. Multi-center prospective validation of prehospital clinical spinal clearance criteria. J Trauma. 2002;53(4):744-750.
6. Domeier RM, Frederiksen SM, Welch K. Prospective performance assessment of an out-of-hospital protocol for selective spine immobilization using clinical spine clearance criteria. Ann Emergency Med. 2005 Aug;46(2):123–31.
7. Vaillancourt C, Charette M, Kasaboski A, Maloney J, Wells GA, Stiell IG. Evaluation of the safety of C-spine clearance by paramedics: design and methodology. BMC Emergency Med. 2011 Feb 1;11:1.
8. Theodore N, Hadley MN, Aarabi B, Dhall SS, Gelb DE, Hurlbert RJ, et al. Prehospital cervical spinal immobilization after trauma. Neurosurgery. 2013 Mar;72 Supply 2:22–34.
9. Sundstrøm T, Asbjørnsen H, Habiba S, Sunde GA, Wester K. Prehospital use of cervical collars in trauma patients: a critical review. J Neurotrauma. 2014 Mar 15;31(6):531–40.
10. Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson learning, 384-385.
11. Fleiss, J. L., Levin, B., Paik, M. C. (2003). Statistical methods for rates and proportions (3rd ed.). John Wiley&Sons
12. Ngamjarus C., Chongsuvivatwong V. (2014). n4Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund&Prince of Songkhla University
13. Connell RA, Graham CA, Munro PT. Is spinal immobilization necessary for all patients sustaining isolated penetrating trauma? Injury. December 2003;34(12):912–4.
14. Galvagno SM, Nahmias JT, Young DA. Advanced Trauma Life Support® Update 2019: Management and Applications for Adults and Special Populations. Anesthesiology Clinic. 2019 Mar;37(1):13–32.
15. The National Association of Emergency Medical Technicians. PHTLS: prehospital trauma life support/ National Association of Emergency Medical Technicians. 9th edition. Vol. 2019. United state of America;
16. สื่อการสอนของเจ้าหน้าที่ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐาน โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย (2019)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-16