การประเมินประสิทธิผลของค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • เนตรชนก บัวเล็ก สำนักงานโครงการ TO BE NUMBER ONE กรมสุขภาพจิต
  • ปัทมา พวงเจริญ สำนักงานโครงการ TO BE NUMBER ONE กรมสุขภาพจิต
  • นิตยา ฉวยกระโทก สำนักงานโครงการ TO BE NUMBER ONE กรมสุขภาพจิต
  • โอภาส พละกุล สำนักงานโครงการ TO BE NUMBER ONE กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

สมาชิก TO BE NUMBER ONE , ค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE, การประเมินประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การจัดค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง เป็นกิจกรรมในโครงการ TO BE NUMBER ONE เพื่อให้สมาชิกได้รับการฝึกฝนทักษะการให้คำปรึกษา การพัฒนา EQ และทำกิจกรรมที่สนใจ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้เข้มแข็ง ส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี ที่จัดต่อเนื่องมา 28 รุ่น แต่ยังไม่มีการติดตามประเมินผลที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาการจัดค่าย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการจัดค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง ด้วยรูปแบบ CIPPIEST Model คือ การประเมินด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process)  และด้านผลผลิต (Product)  ซี่งแยกเป็น 4 มิติย่อย ได้แก่ ผลกระทบ (Impact) ประสิทธิผล (Effectiveness) ความยั่งยืน (Sustainability)การถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) ใช้รูปแบบการศึกษา แบบ Quanti-quali mixed method กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกค่าย อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้รับผิดชอบชมรม วิทยากร และคณะทำงาน รวม 387 คน  โดยเก็บข้อมูลจากเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเอง ประกอบด้วย เครื่องมือเชิงปริมาณ คือแบบสอบถามความพึงพอใจต่อโครงการและติดตามประเมินผล สำหรับสมาชิกค่าย สำหรับอาจารย์ สำหรับวิทยากร และคณะทำงาน โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .97  .89 .95 และ .89 ตามลำดับ เครื่องมือเชิงคุณภาพ คือแบบสัมภาษณ์เพื่อติดตามประเมินผล “ค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง” รุ่นที่ 29 สำหรับสมาชิกค่ายและอาจารย์ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามรายข้อตั้งแต่ 0.67 ขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ จำนวน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ         
ผลการวิจัย: พบว่าการประเมินปัจจัยด้านบริบท กระบวนการ  และผลผลิต รวมทั้งประเด็นย่อย ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายทอดส่งต่อ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ส่วนปัจจัยนำเข้า เหมาะสมมาก และการประเมินเชิงคุณภาพ พบว่า สมาชิกสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการเข้าค่ายไปใช้ ในการพัฒนาตนเองและเพื่อนๆ  เช่น เรียนรู้ในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนใหม่ รู้จักการทำงานส่วนรวมมากขึ้น ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ รับฟังความเห็นผู้อื่นมากขึ้น และจัดกิจกรรมพัฒนา EQ ให้สมาชิกในชมรม เป็นต้น และใช้ในการดำเนินงานชมรมและศูนย์เพื่อนใจ ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และต่อยอดไปทำกิจกรรม อื่น ๆ รวมทั้งนำไปปรับใช้เพื่อขยายผลในพื้นที่ด้วย

References

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, ดาริกา โสงาม, วลัยลักษณ์จิตพิบูลย์, พวงรัตน์ จินพล, อังคณา ชินเดช, ศยาพล เจริญรัตน์ และคณะ. การเฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้สุรา ยาสูบ สารเสพติด และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในนักเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยครั้งที่ 4 ปีการศึกษา 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://cas.or.th/wp-content-st-report-pdf

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ. 2566-2570) [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oncb.go.th/Home/PublishingImages/Pages/ONCB_PLAN/Policyactionplan70.pdf

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ฉบับปรับปรุง 2560. ม.ป.ท; 2560.

กรมสุขภาพจิต. รายงานผลการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ประจำปี 2566. การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ครั้งที่ 21 ประจำปี 2567; 15 พฤศจิกายน 2566; สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี; 2566.

กรมสุขภาพจิต. การวิจัยประเมินผลเพื่อปรับปรุง (Formative Evaluation) โครงการรณรงค์

ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

Stufflebeam, Daniel L. The Relevance of the CIPP Evaluation Model for

Educational Accountability. Atlantic City, N.J;1971.

รัตนะ บัวสนธ์. รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องใน

การใช้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2555;2:7-21.

กิ่งแก้ว มะนะสิม. การประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) ของโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตร์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2559.

ละเอียด ศิลาน้อย. การใช้สูตรทางสถิติ(ที่ถูกต้อง)ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ 2560; 2: 50-61

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์; 2551.

ธรนินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร:บิสซิเนส อาร์แอนด์ดี; 2555.

กรมสุขภาพจิต. แผนปฏิบัติการกรมสุขภาพจิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://bp.dmh.go.th/DMH_PROJECT/upload_information 2566.pdf

อรวรรณ สุวรรณบุณย์. การสำรวจความพึงพอใจต่อการจัดค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่งรุ่นที่10. [เอกสารอัดสำเนา]. สำนักงานโครงการ TO BE NUMBER ONE: นนทบุรี; 2554.

สดศรี คงธนะ. การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กําแพงเพชร [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์และการพัฒนา]. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร; 2548.

อรวรรณ สุวรรณบุณย์. การประเมินผลค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง.

วารสารวิชาการแพทย์เขต 11; 2557;3:23-734.

ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย. คู่มือการจัดกิจกรรมค่าย [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://plethinktank.com/ e-book/Resource/0000002642.pdf

อรวรรณ สุวรรณบุณย์. การสำรวจพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกต่อการจัดค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง รุ่นที่ 1-4. [เอกสารอัดสำเนา]. สำนักงานโครงการ TO BE NUMBER ONE: นนทบุรี; 2554.

ฆนากร นาราษฎร์. การประเมินโครงการ TO BE NUMBER ONE โรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคมพัฒนาสู่ความเป็นหนึ่ง [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=151060.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. คู่มือ รู้คิด รู้ทัน ป้องกันยาเสพติด BE SMART SAY NO TO DRUG. กรุงเทพมหานคร: ออนป้า; 2564.

เนตรชนก บัวเล็ก. การศึกษาผลการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE. [เอกสารอัดสำเนา]. สำนักงานโครงการ TO BE NUMBER ONE: นนทบุรี; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26