พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และความสัมพันธ์ ต่อภาวะสุขภาพ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
คำสำคัญ:
การใช้อินเตอร์เน็ต, ภาวะสุขภาพ , นักศึกษาบทคัดย่อ
สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทในการดำเนินชีวิต และเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ง่ายต่อการเข้าถึง ของนักศึกษา วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และความสัมพันธ์ของการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับภาวะสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และภาวะสุขภาพ ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.87 และ 0.78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและไคสแควร์
ผลการวิจัย: นักศึกษาส่วนใหญ่ (53.0%) ใช้สื่อสังคมออนไลน์มากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน สื่อสังคมออนไลน์ 5 อันดับแรกที่ใช้ คือ Instagram (100%) Line (99.6%) TikTok (96.7%) Facebook (96.7%) และ YouTube (94.4%) โดยใช้อย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวัน กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทุกคนทำทุกวันคือ ดูหนังฟังเพลง และสืบค้นข้อมูลด้านการเรียน ระยะเวลาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับ การปวดหลัง (p = .019) ปวดศีรษะ (p = .015) ชาตามปลายมือ (p = .024) หงุดหงิด (p = .003) และไม่มีสมาธิ (p = .010) กลุ่มตัวอย่าง ระบุว่าอาการดังกล่าวส่งผลต่อภาวะสุขภาพของนักศึกษา ดังนี้ การนอนพักผ่อน (71.5%) ความสนใจในการเรียน (66.3%) การใช้เวลากับเพื่อน ๆ (56.7%) และการทำกิจกรรมที่ชอบ (53.7%) จากผลการวิจัย การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในระยะเวลานานๆ มีผลกระทบด้านลบต่อด้านร่างกายและจิตใจของนักศึกษา การให้ความรู้และปรับพฤติกรรมของนักศึกษาให้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละครั้งให้สั้นลง อาจช่วยลดผลกระทบด้านลบของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าว ผู้สอนสามารถใช้ประเภทสื่อสังออนไลน์ที่เป็นที่นิยมในกลุ่มนักศึกษา เป็นช่องทางในการเผยแพร่สื่อการสอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึง
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 8 ธ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2024/20240531072624_48392.pdf
สถาบันราชานุกูล. กรมสุขภาพจิต พบเด็กวัยรุ่นติดเกม-ป่วยทางจิตเวชเพิ่มสูงขึ้น 1.5 เท่าในรอบ 3 ปี แนวโน้มอายุน้อยลง เตือนพ่อแม่เฝ้าระวัง ลูกหลานเสพติดเกมประเภท“โมบ้า”ย้ำชัดไม่ใช่กีฬาทางสมอง หวั่นสมองติดเกม เลิกยาก [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 8 ธ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://th.rajanukul.go.th/preview-3169.html
อังคณา ศิริอำพันธ์กุล. ภาวะซึมเศร้ากับพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียล. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 2561;10:327-37.
Oluwatosin E, Ajewumi V, Magbagbeola O, Kalu C, Ike RA, Okunjolu F, et al. The impact of social media on mental health and well-being. World J Adv Res Rev 2024;24:3027. doi: 10.30574/wjarr.2024.24.1.3027.
พัชริดา บํารุงศรี, จันจิรา ตราสุวรรณ, สุภาพร รัตนรัตน, อภิสรา ทาระการ, ณัฐธิดา ชํานาญกิจ, ณัฐปภัสร์ พงศ์ทองเมือง, และคณะ. พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://publication.npru.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1389/1/npru_134.pdf
ลักขณา ชอบเสียง, เชาวลิต ศรีเสริม, พรธิรา บุญฉวี, จุฑามาศ ทองประสาน และ ณัฐพงษ์ ศรีชาติ. การรับรู้และการจัดการตนเองเมื่อถูกกลั่นแกล้งบนสังคมออนไลน์ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2564;5:22-33.
Berdida DJE. Resilience and academic motivation's mediation effects in nursing students' academic stress and self-directed learning: A multicenter cross-sectional study. Nurse Educ Pract 2023;103639. doi: 10.1016/j.nepr.2023.103639.
Blumler JG, Katz E. The Uses of Mass Communications: Current Perspectives on Gratifications Research. Sage Annual Reviews of Communication Research Volume III. SAGE Publications, Inc; 1974.
Pouwels JL, Valkenburg PM, Beyens I, van Driel II, Keijsers L. Social media use and friendship closeness in adolescents' daily lives: An experience sampling study. Dev Psychol 2021;57:309-323. doi: 10.1037/dev0001148.
ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, สกุลตลา แซ่เตียว, วรินทร์ลดา จันทวีเมือง, ทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์, จินตวีร์พร แป้นแก้ว. พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2563;21:67-77.
Simpson MC, Sawatzky J-V. Clinical placement anxiety in undergraduate nursing students: A concept analysis. Nurse Educ Today 2020;87:104329
Tang K, Hilton C, Yunita R, Walvinson R, Paerin. Association between social media and mental health changes among gen-z in Batam, Indonesia: A cross-sectional study. cmhp [Internet]. 2024 [cited 2024Dec.25];7:12-5. Available from: https://cmhp.lenterakaji.org/index.php/cmhp/article/view/160
Sherman LE, Payton AA, Hernandez LM, Greenfield PM, Dapretto M. The power of the like in adolescence: effects of peer influence on neural and behavioral responses to social media. Psychol Sci 2016;27:1027-35. doi: 10.1177/0956797616645673.
European Union News. Study shows links between social media use, unhealthy lifestyles and teenage wellbeing [Internet]. 2024 [cited 2024 Nov 27]. Available from: https://go-gale-com.ep.bib.mdh.se/ps/i.do?p=ITOF&u=malard&id=GALE%7CA811484470&v=2.1&it=r
พนัส เชื้อประเสริฐศักดิ์, ปรียานุช วุฒิชูประดิษฐ์, สุพัฒน์ ชูประดิษฐ์. โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตต่อภาวการณ์ติดสื่ออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารวิจัยสหวิทยาการ บัณฑิตศึกษา 2565;1:287-95.
Amy F. Does social media use really cause teenage depression? This is Local London [Internet]. 2019 [cited 2024 Nov 27]. Available from: https://www.thisislocallondon.co.uk/young-reporter/18105479
Aryuwat P, Asp M, Lövenmark A, Radabutr M, Holmgren J. An integrative review of resilience among nursing students in the context of nursing education. Nurs Open 2023;10:2793-818. doi: 10.1002/nop2.1559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง