ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัว ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ในคลินิกหมอครอบครัวปทุมวิทยากร โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • จินตนา บุญเทียม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ศรันยา บุตรชัย โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • จตุพร พันธการ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เบาหวานที่ควบคุมโรคไม่ได้ , ผู้สูงอายุ, โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง , การมีส่วนร่วมของครอบครัว

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานในกลุ่มผู้สูงอายุมีผลกระทบรุนแรงมากกว่าในกลุ่มวัยอื่น มีความซับซ้อนในหลายมิติ  ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และภาวะเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดความพิการและทำให้คุณภาพชีวิตลดลง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ศึกษา ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัว ในกลุ่มป่วยเบาหวานสูงอายุที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิต คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัว 2) คู่มือการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ และ 3) แบบบันทึกพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ประกอบด้วย การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา และการจัดการตนเองด้านจิตใจและอารมณ์ ดำเนินการทดลองตามโปรแกรมฯ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired t-test

ผลการศึกษา: พบว่า หลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (p < .05) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ (p < .05) และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับที่ดีและสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ (p < .05) ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุมีการจัดการตนเองที่เหมาะสม ส่งผลให้สามารถลดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดได้ ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ควรนำโปรแกรมฯ ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม

References

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

รังสิมา รัตนศิลา, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, สิรินทร ฉันศิริกาญจน, สิริประภา กลั่นกลิ่น, พัชราพร เกิดมงคล. ผลของโปรแกรมการจัดการผู้ป่วยรายกรณีผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2558;29:67–79.

สมเกียรติ โพธิสัตย์, สถิต นิรมิตรมหาปัญญา, ชัยชาญ ดีโรจน์วงศ์, วีระศักดิ์ ศรินนภากร, นภา ศิริวิวัฒนากุล, และคณะ. การแพทย์ไทย 2554-2557. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

นพนัฐ จำปาเทศ, ละเอียด แจ่มจันทร์, พัชราภรณ์ ฝ่ายหมื่นไวย์. บทบาทพยาบาลในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสุขภาวะ 2561;21:153-64

ขวัญเรือน ก๋าวิตู, ชนิดา มัททวางกูร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยสยาม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2562;20:82-95.

American Diabetes Association Professional Practice Committee. Glycemic targets: Standards of Medical Care in Diabetes-2022. Diabetes Care 2022;45(Suppl 1):s83-96. doi: 10.2337/dc22-S006.

ElSayed NA, Aleppo G, Aroda VR, Bannuru RR, Brown FM, Bruemmer D, et al. Older Adults: Standards of Care in Diabetes-2023. Diabetes Care. Diabetes Care 2023;46(Suppl 1):S216-29. doi: 10.2337/dc23-S013.

Burgess E, Hassmen P, Welvaert M, Pumpa KL. Behavioural treatment strategies improve adherence to lifestyle intervention programmes in adults with obesity: a systematic review and meta-analysis. Clin Obes 2017;7:105-14. doi: 10.111/cob.12180

ElSayed NA, Aleppo G, Aroda VR, Bannuru RR, Brown FM, Bruemmer D, et al. Pharmacologic approaches to glycemic treatment: standards of care in diabetes-2023. Diabetes Care 2023;46(Suppl 1):S140-57. doi: 10.2337/dc23-S009

ชดช้อย วัฒนะ. การสนับสนุนการจัดการตนเอง: กลยุทธ์ในการส่งเสริมการควบคุมโรค. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2558;26:117–27.

ชดช้อย วัฒนะ, สุธน พรธิสาร, ณฐวรรณ รักวงศ์ประยูร, ปริญญา แร่ทอง. รายงานการวิจัยผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวานต่อความรู้การรับรู้สมรรถนะในการจัดการตนเอง การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ค่าดัชนีมวลกาย และคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ปทุมธานี: กองทุนวิจัย มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์; 2550.

ณัฐรพี ใจงาม, อรนุช ชูศรี, รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย, รังสรรค์ มาระเพ็ญ. แนวคิดการจัดการภาวะสุขภาพของบุคคลและครอบครัวที่มีสมาชิกป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27:1-10.

เสาวนีย์ วรรละออ, พรทิพย์ มาลาธรรม, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. แรงสนับสนุนจากครอบครัวตามการรับรู้ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2555;18:372-88.

แสงอรุณ สุรวงค์, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2560;29:29:104-16.

กาญจนา พิบูลย์, วัลลภ ใจดี, เกษม ใช้คล่องกิจ. การศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้สูงอายุ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2558;23:1-19.

รัชมนภรณ์ เจริญ, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, อำภา นามวงศ์พรหม. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2553; 10:279-92.

สายพิณ หัตถีรัตน์. คู่มือหมอครอบครัวฉบับบสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2551.

ประเสริฐ อัสสันตชัย, สิรินทร ฉันศิริกาญจน, วราลักษณ์ ศรีนนประเสริฐ, วีระศักดิ์ เมืองไพศาล, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ. คู่มือแนวทางการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุในสถานบริการสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

นภาลัย ภูริเริงภูมิ. Telehealth การแพทย์ทางไกลสำหรับการดูแลสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ10 ส.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hwthailand.org/articleforworkers/telemedicine-for-health-care.

สาวิตรี นามพะธาย. ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.

รพ.สต.บ้านท่าข้าม. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สุวัฒน์ มหัตนิรันคร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับบภาษาไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 10 ส.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://gdcatalog.go.th/dataset/gdpublish-whoqol-bref-thai.

ปฐมพร ศิรประภาศิริ, สันติ ลาภเบญจกุล, ดวงดาว ศรียากูล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, จุรีพร คงประเสริฐ. คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่ แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน). นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

กรภัทร มยุระสาคร. การควบคุมเบาหวานด้วยโภชนาการรายบุคคล (Personalized diabetes nutrition) [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 5 ต.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://cimjournal.com/confer-update/personalized-diabetes-nutrition/

วีระศักดิ์ ศรินนภากร, บรรณาธิการ. การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ยากต่อการรักษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2557.

Stratton IM, Adler AI, Neil HA, Matthews DR, Manley SE, Cull CA, et al. Association of glycemia with macrovascular and microvascular complications of type 2 diabetes (UKPDS 35): prospective observational study. BMJ 2000;321:405-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-04

How to Cite

1.
บุญเทียม จ, บุตรชัย ศ, พันธการ จ. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัว ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ในคลินิกหมอครอบครัวปทุมวิทยากร โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. J Health Sci BCNSP [อินเทอร์เน็ต]. 4 เมษายน 2025 [อ้างถึง 20 เมษายน 2025];9(1):e274510 . available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/274510