การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบแอปพลิเคชันเรื่องกลไกการคลอดปกติ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต
คำสำคัญ:
สื่อการเรียนรู้แบบแอปพลิเคชัน , กลไกการคลอดปกติ , นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้รูปแบบแอปพลิเคชัน เรื่องกลไกการคลอด ปกติสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต การศึกษาแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและ รูปแบบสื่อการสอน 2) พัฒนาและทดสอบแอปพลิเคชัน 3) นำแอปพลิเคชันไปทดลองสอนจริง และ 4) ประเมินความพึงพอใจ ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี 3 ของวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง จำนวนรวมในทุกขั้นตอนเท่ากับ 74 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แอปพลิเคชันเรื่องกลไกการคลอดปกติ ข้อสอบก่อนและหลังการเรียน (20 ข้อ, KR 21 = .77) และแบบประเมินความพึงพอใจ (20 ข้อ, α = .87) ซึ่งเครื่องมือผ่านการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และพัฒนาปรับปรุงจนข้อคำถามกับวัตถุประสงค์มีค่าความสอดคล้องผ่านเกณฑ์ .50 ทุกข้อมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบค่าเฉลี่ยด้วย Paired Sample t-test และทดสอบประสิทธิภาพสื่อการสอนด้วยสูตร E1/E2
ผลการวิจัย: นักศึกษาต้องการสื่อที่สะดวกในการใช้งาน มีภาพและวิดีโอสั้นประกอบคำอธิบาย ผู้วิจัยได้พัฒนาแอปพลิเคชันจนได้ค่าประสิทธิภาพสื่อการสอน E1/E2 มากกว่าค่าที่กำหนดไว้ คือ 80/80 เมื่อนำไปทดลองสอนพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของผลการทำข้อสอบหลังการทดลอง (Mean = 16.23, S.D. = 1.85) สูงกว่าก่อนทดลอง (Mean = 8.30, S.D. = 2.24) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ; t (29) =-16.153, p = .01 ประสิทธิภาพสื่อการสอนเท่ากับ 80.82/81.17 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้สื่ออยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.64, S.D. = .35) การพัฒนาแอปพลิเคชันครั้งนี้ได้แอปพลิเคชันมีประสิทธิภาพ สถาบันการศึกษาพยาบาลจึงควรพิจารณานำแอปพลิเคชันนี้มาใช้เป็นสื่อการสอนเสริมในวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
References
มาลีวัล เลิศสาครศิริ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความเครียด และการจัดการความเครียดขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15:270-79.
วรรณวดี เนียมสกุล. ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560;9:1-17.
กนกอร ศรีสมพันธุ์, บังอร ศิริสกุลไพศาล, ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์. การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ในกิจกรรมการสอบสาธิตย้อนกลับกลไกการคลอด. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560;11:138-46.
กฤษณี สุวรรณรัตน์, กรรณิการ์ แซ่ตั๊ง, วรัญญา ชลธารกัมปนาท. ผลของการใช้นวัตกรรมวงล้อกลไกการคลอดต่อความรู้และทักษะการประเมินกลไกการคลอดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลปกเกล้า จันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2562;30:152-60.
ขวัญใจ เพทายประกายเพชร, ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์. นวัตกรรมชุดหุ่นฝึกทักษะการหมุนกลไกการคลอดสำหรับนักศึกษาพยาบาล 2563;36:233-43.
สุภัสสรา โคมินทร์, วรัญญา แสงพิทักษ์, มาลี เกื้อนพกุล, กนกอร ศรีสัมพันธ์. การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องกลไกการคลอด สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563;30:136-49.
สุภัสสรา โคมินทร์, วรัญญา แสงพิทักษ์, สุพางค์พรรณ พาดกลาง. ผลการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในการใช้สื่อการสอนมัลติมีเดีย เรื่องกลไกการคลอดสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2564;37:155-69.
บุษบา ทาธง, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, บุษกร แก้วเขียว. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดย ประยุกต์ ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี อุตรดิตถ์ 2562;11:155-68.
น้ำฝน ไวทยวงศ์กร, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, รัชนี ชุนเกาะ. การพัฒนาและทดสอบประสิทธิ ภาพของสื่อการเรียนรู้รูปแบบแอพพลิเคชั่นในการพยาบาลมารดาหลังคลอด สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2562;6:53-68.
วรรษมน ปาพรม. ผลของโปรแกรมสนับสนุนและแอปพลิเคชันให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง และได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561;38:167-78.
เดือนเพ็ญ บุญมาชู, ปิยะนันท์ นามกุล, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์. ผลของโปรแกรมการสอนแนะมารดาต่อพฤติกรรมในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2567;30:97-114.
จันทกานต์ กาญจนเวทางค์. โปรแกรมคำนวณอายุครรภ์และกำหนดคลอด [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 3 มี.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.jantakan.in/pregcal/index.html
Yuliawan D, Widyandana D, Nur Hidayah R. Utilization of Nursing Education Progressive Web Application (NEPWA) Media in an Education and Health Promotion Course Using Gagne’s Model of Instructional Design on Nursing Students: Quantitative Research and Development Study. JMIR Nursing 2020;3:e19780. doi: 10.2196/19780.
Chang H, Wu H, Chang Y, Tseng Y, Wang Y. The effects of a virtual simulation-based, mobile technology application on nursing students' learning achievement and cognitive load: Randomized controlled trial. Games Health J. 2023;12:63-72. doi: 10.1089/g4h.2022.0085.
Bolatli G, Kizil H. The Effect of Mobile Learning on Student Success and Anxiety in Teaching Genital System Anatomy. Anat Sci Educ. 2022;15:155-65. doi: 10.1002/ase.2059.
McGriff, Steven J. Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model. Instructional Design Models 2000;226:1-2.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น; 2555.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์ วิจัย 2556;1:7-20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง