ความสัมพันธ์ระหว่างแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • นงรัตน์ โมปลอด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุวิชญา วิริยะศิริกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • บุญประจักษ์ จันทร์วิน Boromarajonani College of Nursing Nakhon Si Thammarat, Faculty of Nursing, Praboromarajchanok Institute

คำสำคัญ:

แบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมการบริโภค, อาหารที่มีโซเดียม , โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามออนไลน์ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม การรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม การรับรู้ความสามารถของตนเองในพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม การเข้าถึงอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมสูง แรงสนับสนุนทางสังคมในการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมต่ำ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม ตรวจสอบเครื่องมือด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความสอดคล้อง Item-Objective Congruence (IOC) index ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าแอลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.83, 0.77, 0.81, 0.78, 0.94, 0.89 และทั้งฉบับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสหสัมพันธ์ Spearman rank correlation coefficient  

ผลการวิจัย: พบว่า การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง และการรับรู้ความสามารถของตนเอง อยู่ในระดับสูง (Mean = 3.74, S.D.= 0.51; Mean = 3.70, S.D.=0.52) ตามลำดับ ส่วนการรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.62, S.D.= 0.61) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การเข้าถึงอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียม อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.85, S.D.= 0.75) ปัจจัยเสริม ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม ในการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.97, S.D.= 0.81) และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.11, S.D.= 0.65) พบว่า การเข้าถึงอาหารและผลิตภัณฑ์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์ในทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r= 0.571 และ 0.459) ตามลำดับ ส่วนแรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์ในทางบวก อยู่ในระดับต่ำ (r= 0.325, 0.299 และ 0.210) ตามลำดับ จากผลการวิจัย หน่วยบริการสาธารณสุขควรนำแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพไปพัฒนาเป็นโปรแกรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

References

กรมควบคุมโรค. ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559-2568.

กรุงเทพมหานคร; องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

กองโรคไม่ติดต่อ. แนวทางการดำเนินงานลดการบริโภคเกลือและโซเดียมระดับจังหวัด. นนทบุรี; กระทรวงสาธารณสุข; 2566.

Chailimpamontree W, Kantachuvesiri S, Aekplakorn W, Lappichetpaiboon R, Sripaiboonkij Thokanit N, Vathesatogkit P, et al. Estimated dietary sodium intake in Thailand: A nationwide population survey with 24-hour urine collections. J Clin Hypertens (Greenwich) 2021;23:744–54. doi: 10.1111/jch.14147.

Green L, & Kreuter M. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. New York: McGraw Hill; 2005.

ประทุม เมืองเป้, วุฒิชัย จริยา. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;32:19–30.

จริญญา คมเสียบ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะแห่งตน กับพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

พัชนี ถิระกุลพฤทธิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของครัวเรือน ในตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2559.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. ระบบรายงานส่งข้อมูล 43 แฟ้ม [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 8 ส.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nrt.hdc.moph.go.th/hdc/reports

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี; 2560

Best JW, Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1977.

Bartz AE. Basic Statistical Concepts. 4th ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1999.

Ukoha-Kalu BO, Isah A, Biambo AA, Samaila A, Abubakar MM, Kalu UA, & et al. Effectiveness of educational interventions on hypertensive patients’ self-management behaviours: An umbrella review protocol. BMJ Open 2023;13: e073682. doi: 10.1136/bmjopen-2023-073682.

Zhang Q, Shen Y, Yu M, Yang Z, Huang Z, Ding J, et al. Associations between estimation of salt intake and salt-restriction spoons and hypertension status in patients with poorly controlled hypertension: A community-based study from Huzhou City, Eastern China. Nutr J 2024;23:9. doi: 10.1186/s12937-024-00912-w.

Heindl B, Howard G, Clarkson S, Kamin Mukaz D, Lackland D, Muntner P, et al. Urban-rural differences in hypertension prevalence, blood pressure control, and systolic blood pressure levels. J Hum Hypertens 2023;37:1112–8. doi: 10.1038/s41371-023-00842-w.

Gupta DK, Lewis CE, Varady KA, Su YR, Madhur MS, Lackland DT, et al. Effect of dietary sodium on blood pressure: A crossover trial. JAMA 2023;330:2258–66. doi: 10.1001/jama.2023.23651.

อัมภากร หาญณรงค์, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา 2560;25:52-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23