การพัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะการนิเทศด้านคลินิก ของหัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่
คำสำคัญ:
โปรแกรม , สมรรถนะผู้นิเทศทางการพยาบาล , การนิเทศทางคลินิกบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะการนิเทศด้านคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม 3) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านการปฏิบัติการนิเทศ ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือหัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่หรือหัวหน้างานใหม่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จำนวน 20 คน ใช้กรอบแนวคิดวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis & Mc Taggart เครื่องมือดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะการนิเทศด้านคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่ ตามแนวคิดการนิเทศทางคลินิกของ พรอคเตอร์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินสมรรถนะ แบบประเมินการปฏิบัติการนิเทศ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าเท่ากับ1.00, 0.98 และ0.96 ตามลำดับ ทดสอบค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test
ผลการวิจัย: พบว่า หัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่ มีสมรรถนะการนิเทศด้านคลินิกภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z = -2.023, p =0.043) มีการปฏิบัติการนิเทศภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z = -5.799, p =<0.001) และภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ร่วมวิจัยมีความพึงพอใจต่อโปรแกรม อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.21 (S.D.=0.37) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะการนิเทศด้านคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่ ที่เกิดจากการสร้างโปรแกรมการร่วมกัน สามารถนำมาใช้ในบริบทของกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ส่งผลให้ผู้นิเทศทางการพยาบาลมีสมรรถนะเพิ่มขึ้น
References
อรอนงค์ ธาราไพศาลสุข. ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลเอกชน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.
สุพิศ กิตติรัชดา, วารี วณิชปัญจพล. การบริหารการพยาบาลสู่คุณภาพการนิเทศการพยาบาล Nursing supervision. กรุงเทพฯ: สยามเจริญพานิชย์; 2551.
มัสลินภร จู่มา, เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, เรณุการ์ ทองคำรอด. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2566;18:1-15.
นิรพันธ กิติสุภรณ์พันธ์, ปรางทิพย์ อุจะรัตน์, กรรณิการ์ สุวรรณโคตร. ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะการนิเทศแบบเคลียร์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2559;12:1-15.
จีรวรรณ์ ศิริมนตรี. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างการนิเทศทางคลินิก การบริหารความเสี่ยงทางคลินิก และผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2564;24:1-12.
นิตยา ศรีญาณลักษณ์. การบริหารการพยาบาล. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการสถาบันบรมราชนก; 2552.
Benner P. From novice to expert: Excellent and power in clinical nursing practice. Menlo Park, CA: Addison-Wesley; 1984.
Alexander G. Behavioral coaching–the GROW model. In: Passmore J, editors. Excellence in coaching: the industry guide. Philadelphia: Kogan; 2010. p. 84–93.
Page S, Wosket V. Supervising the counsellor. A cyclical model. London: Routledege; 2001.
Proctor B. Training for the Supervision Alliance Attitude, Skill and Intention. In Fundamental Themes in Clinical Supervision Cutcliffe JR, Butterworth T, and Proctor B, editors. London: Routledge; 2001. p 25–46.
นุชจรีย์ ชุมพินิจ, สุทธีพร มูลศาสตร์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสำหรับ หัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารพยาบาลตำรวจ 2558;7:77-89.
สุพัตรา สงฆรักษ์, สุคนธ์ ไข่แก้ว, เบ็ญจวรรณ พุทธอังกูร. ผลของโปรแกรมนิเทศทางคลินิกสำหรับ ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2561;14:35-47.
Kemmis S, & Mc Taggart R. The action research planner. 3rd ed. Australia: Deakin University Press; 1988.
ธนพร แย้มสุดา, ขันธ์แก้ว ลักขณานุกูล. ความรู้และการปฏิบัติการนิเทศทางการพยาบาลของผู้นิเทศทางการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศึกษาศาสตร์ 2564;8:121-34.
ผ่องศรี สุพรรพายัพ, พรทิพย์ สุขอดิศัย, กรรณิกา อำพน. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2556;6:12-26.
บุญหนัก ศรีเกษม, อรชร กันจีนะ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกต่อการเกิดแผลกดทับโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารกองการพยาบาล 2561;45:8-24.
อารีย์ เสถียรวงศา. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563;14:114-24.
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูสำหรับนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยภัฏ. วารสารบัณฑิตวิจัย 2566;14:1-17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง