ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอ ภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวานในโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
โปรแกรมการจัดการตนเอง, โรคเบาหวาน, ภาวะไตเสื่อมจากโรคเบาหวานบทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล จะทำให้หลอดเลือดที่ไตเสื่อมส่งผลให้มีอัตราการกรองของเสียลดลงจนเข้าสู่ภาวะไตวาย หากไม่สามารถดูแลตนเองและชะลอการเสื่อมของไต จะนำไปสู่การรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตในที่สุด การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการจัดการตนเอง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านคลินิก ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลฝาง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล โปรแกรมการจัดการตนเองต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้านการรับประทานอาหารและยามีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .73 และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติความแปรปรวนร่วม
ผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรรมการจัดการตนเองด้านการรับประทานอาหารและยา ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมในกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.001) และกลุ่มทดลองมีอัตราการกรองของไตหลังเข้าร่วมโปรแกรมมากกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลอง มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดหลังเข้าร่วมโปรแกรมน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.001) ดังนั้น โปรแกรมการจัดการตนเองต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รณรงค์วันเบาหวานโลกปี 2563 หนุนบทบาทพยาบาลร่วมสร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงโรคเบาหวาน [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 13 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=15591&deptcode=brc
กองโรคไม่ติดต่อ สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก มีผู้ป่วยแล้ว 537 ล้านคน มีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 13 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/
พุทธรักษ์ ดีสิน, ศุภศิลป์ ดีรักษา. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคแทรกซ้อนในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ สอง โรงพยาบาลท่าคันโทจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563;13:36-41.
สุรัตน์ อนันทสุข. โปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2564.
นิตยา สิตะเสน, กีรดา ไกรนุวัตร, รักชนก คชไกร. ความชุกและปัจจัยทำนายการเกิดโรคไตจากเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2563;38:31-43.
บดินทร์ จักรแก้ว. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ในอำเภอเขตกึ่งเมืองของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2565;18:16-30.
จิรวัฒน์ สีตื้อ. ความชุกของโรคไตวายเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการทำงานของไตลดลงของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองร่องซ้อ จังหวัดแพร่. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลแพร่ 2562;27:1-15.
กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. นนทบุรี. กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. 2565.
ธีรศักดิ์ พาจันทร์, กฤชกันทร สุวรรณพันธ์, บุญสัน อนารัตน์, นิรันดร์ ถาละคร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565;16:285-98.
วิทยา เลิกสายเพ็ง. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปิ้งไก่ ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2564;2:1-10.
กานต์ชนก สุทธิผล. ปัจจัยที่มีผลต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์โรงพยาบาลราชบุรี. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2565;5:1-11.
ชลาภัทร คำพิมาน และพัฒนชัย รัชอินทร์. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชะลอไตเสื่อม ของผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง ที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 1 ถึง 3 ตำบลดงขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2560;4:42-9.
กนกวรรณ ด้วงกลัด, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563;36:66-83.
Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self management methods. New York: Pergamon Press;1991.
สาวิตรี นามพะธาย. ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.
พนิดา รัตนศรี. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ. วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น 2565;4:210-224.
งานสารสนเทศ โรงพยาบาลฝาง. รายงานข้อมูล. HosXp. 2566.
สุพัตรา พงษ์อิศรานุพร, ศศรส หลายพูนสวัสดิ์, ประทุน สุภชัยพานิชพงศ์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วารสารแพทย์เขต 4-5 2561;37:148-59.
ประเสริฐ บุญเกิด. แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย Mental State Examination T10 (MSET10). สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย สารจากนายก 2561;10:1-4
ศิริลักษณ์ ถุงทอง, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อ ชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารสงขลานครินทร์ 2558;35:67-84.
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.
Hisni D, Soewondo P, Dahlia D, Ayubi D. Concept analysis of self-management in patient with diabetes nephropathy. Journal Endurance 2023; 28:363-8.
Naber T, Purohit S. Chronic Kidney Disease: Role of Diet for a Reduction in the Severity of the Disease. Nutrients 2021;13:1-16.
Lambrinou E, Hansen T B, Beulens J W. Lifestyle factors, self-management and patient empowerment in diabetes care. European journal of preventive cardiology 2019;26:55-63.
Swanson V, Maltinsky W. Motivational and behavior change approaches for improving diabetes management. Practical Diabetes 2019;36:121-5.
Sayeed KA, Qayyum A, Jamshed F, Gill U, Usama SM, Asghar K, Tahir A, Siddiqui A. Impact of diabetes-related self-management on glycemic control in type II diabetes mellitus. Cureus 2020;12:e7845.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง