ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการดื่มน้ำกระท่อมของนักศึกษาชาย มหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ภัทรวดี นิลบารันต์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อภัสรา บุระณะกิติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุชาดา ฐานชูมั่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กนกวรรณ วงษ์สุนทร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ธาดารัตน์ ศรีวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • รุ่งฤดี บัวใหญ่รักษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุภัสสร เลาะหะนะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มน้ำกระท่อม, พฤติกรรมเสี่ยง, น้ำกระท่อม

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเยาวชนมีการใช้พืชกระท่อมเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ผ่อนคลายความเครียดและใช้ดื่มสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อน หากใช้ติดต่อกันนานๆ และปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการดื่มน้ำกระท่อมของนักศึกษาชาย ชั้นปีที่ 1-4 ของมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง จำนวน 359 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควต้าสัดส่วนนักศึกษาชายแต่ละคณะ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับน้ำกระท่อม แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการดื่มน้ำกระท่อม และแบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงในการดื่มน้ำกระท่อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน 

 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 21.33 ปี เคยดื่มน้ำกระท่อมคิดเป็นร้อยละ 47 ทำงานหารายได้เสริมคิดเป็นร้อยละ 15.04 ส่วนใหญ่มีเพื่อนในกลุ่มดื่มน้ำกระท่อมร้อยละ 70 มีความรู้เกี่ยวกับน้ำกระท่อมในระดับสูง ร้อยละ 53.70 ทัศนคติทางบวกต่อการดื่มน้ำกระท่อมระดับปานกลาง ร้อยละ 34.67 และพฤติกรรมเสี่ยงในการดื่มน้ำกระท่อมระดับสูง ร้อยละ 64.30 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการดื่มน้ำกระท่อมระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ทัศนคติต่อการดื่มน้ำกระท่อม และประวัติเคยดื่มน้ำกระท่อม (rs = .559, rs = -.681, p < .01) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระดับต่ำ ได้แก่ ทำงานหารายได้เสริม เพื่อนในกลุ่มดื่มน้ำกระท่อม และลักษณะของครอบครัว (rs = -.139, rs = -.393, p < .01, rs = -.104, p < .05) ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนป้องกันและควบคุมการดื่มน้ำกระท่อมของนักศึกษาเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อร่างกายและจิตใจ

References

Charoenratana S, Anukul C, Aramrattan A. Attitudes towards kratom use, decriminalization and the development of a community-based kratom control mechanism in Southern Thailand. Int J Drug Policy 2021 Sep; 95:103197. doi: 10.1016/j.drugpo.2021.103197.

Eastlack SC, Cornett EM, Kaye AD. Kratom-Pharmacology, Clinical Implications, and Outlook: A Comprehensive Review. Pain Ther 2020 Jun; 9:55-69. doi: 10.1007/s40122-020-00151-x.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข. กระท่อม (Kratom) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 มิ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=6063

สมฤดี เอี่ยมฉลวย. ผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมของผู้ใช้ใบกระท่อมที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษาสารเสพติด [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

วรางคณา จันทร์คง, ปาจรีย์ ผลประเสริฐ. แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษา ในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2561;4:65-74.

มานพ คณะโต, กนิษฐา ไทยกล้า, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, จิตรลดา อารียสันติชัย, ศยามล เจริญรัตน์, พูนรัตน์ ลียติกุล และคณะ. รายงานผลการสำรวจครัวเรือนเพื่อคาดจำนวนประชากรผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2562.

Roche DJO, Bujarski S, Green R, Hartwell EE, Leventhal AM, Ray LA. Alcohol, tobacco, and marijuana consumption is associated with increased odds of same-day substance co- and tri-use. Drug and Alcohol Dependence 2019; 200:40-9. doi: 10.1016/j.drugalcdep.2019.02.035.

กิตติวงค์ สาสวด, ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่เทศบาล อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัย 2559;10:116-24.

ณัชฎาวรรณ รอดการทุกข์, กุลทัต หงส์ชยางกูร, พงศ์เทพ สุธีรวุฒ. กระบวนการเลิกใช้สารเสพติดก่อนเข้าสู่การเป็นสมาชิกกลุ่มที่เห็นต่างในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2560;8:89-97.

Zaleski AC, Aloise-Young PA. Using peer injunctive norms to predict early adolescent cigarette smoking intentions. J Appl Soc Psychol 2013;43:E124-31. doi: 10.1111/jasp.12080.

Talek M, Cottler B, Wichaidit W, Assanangkornchai S. Patterns of Kratom use among male drug users in the deep south of Thailand. THJPH 2021;51:16-22.

วราสินธุ์ หยีอาเส็ม นิรนาท แสนสา สุขอรุณ วงษ์ทิม. ผลของการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อปรับเปลี่ยนเจตคติต่อการเสพน้ำกระท่อม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9; 29 พฤศจิกายน 2562; มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2562.

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, ทัศนพรรณ เวชศาสตร์, นลพรรณ ขันติกุลานนท์, ศศิวิมล จันทร์มาลี, อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้พืชกระท่อมของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านกระแชง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2566;18:45-59.

วราภรณ์ มั่งคั่ง, จินตนา วัชรสินธุ์, วรรณี เดียวอิศเรศ. ปัจจัยครอบครัวที่มีผลต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นชายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขบูรพา 2559;11:54-63.

Schwartz NE. Nutritional knowledge, attitudes, and practices of high school graduates. J Am Diet Assoc 1975;66:28-31.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ. Psychol. Meas 1970; 30:607-10. doi: 10.1177/001316447003000308.

กิตติศักดิ์ เหมือนดาว. การทดสอบทางพฤกษเคมีของพืชกระท่อมและการแยกไมตราไจนีนจากใบกระท่อมเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐาน และการศึกษาความเข้าใจและทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2564.

Bloom BS, Madaus GF, Hastings JT. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, นพพร ตันติรังสี. แบบคัดกรอง ASSIST ฉบับภาษาไทย [อินเตอร์เน็ต]. แผนงานวิชาการสารเสพติดชุมชน; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://medipe2.psu.ac.th/tsan/wp-content/uploads/2016/09/Final-report-ASSIST.pdf

ดาริกา ใสงาม, อลัน กีเตอร์, วลัยลักษณ์ จิตพิบูลย์. ความชุกของการดื่มสุรา การใช้พืชกระท่อม และการใช้ 4X100 กรณีศึกษา: พื้นที่ตำบลน้ำพุ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีและวิเคราะห์ความชุกของการใช้สารเหล่านี้ของประชากรไทยจากฐานข้อมูลทุติยภูมิ. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา 2562; 1-16.

เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์, เก็ตถวา บุญปราการ, ชิดชนก เชิงเชาว์, อภิรักษ์จันทวงศ์, ปกรณ์ ลิ้มโยธิน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดของเยาวชนไทยในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตา 2563;31:88-103.

Yothasupap A, Bunman S, Nomsin A. Kratom use and health literacy of kratom for user: A narrative review. The Bangkok Medical Journal 2024 Feb; 20:42-8. doi: 10.31524/bkkmedj.2024.13.001.

ธินัฐดา พิมพ์พวง, มานพ คณะโต. ภูมิคุ้มกันยาเสพติดและสารเสพติดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี 2559;27:136-46.

นิศาลักษณ์ รัตนะ. ความคิดอัตโนมัติในวัยรุ่นชายที่ดื่มน้ำใบกระท่อม [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

ศุภกิตติ์ เลขวิจิตร์, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, พงศ์ประเสริฐ อ่อนจันทร์, บุญยิ่ง ประทุม.พฤติกรรมของเยาวชนที่เสพติดน้ำกระท่อม กรณีศึกษากลุ่มเยาวชนกลุ่มหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์ 2563;3:16-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-29