การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการภาวะแทรกซ้อนในการให้ยาระงับความรู้สึกผู้ป่วยโรคโปรตีนรั่วในถุงลมที่มาทำหัตถการล้างปอด
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคโปรตีนรั่วในถุงลมที่มาระงับความรู้สึกเพื่อทำหัตถการล้างปอด ดำเนินการวิจัย โดยใช้รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของซูคัพปี 2000 เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาซึ่งมี 4 ระยะ คือ 1) การค้นหาปัญหา 2) การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ผ่านการประเมินระดับความน่าเชื่อถือได้จำนวน 11 เรื่อง แบ่งเป็นระดับ 4a จำนวน 8 เรื่อง ระดับ 4b จำนวน 2 เรื่อง และ 4d จำนวน 1 เรื่อง 3) การพัฒนาแนวปฏิบัติและนำไปทดลองใช้ และ 4) การนำแนวปฏิบัติที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริงในหน่วยงาน โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ทำศึกษาจากระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดประกอบด้วย วิสัญญีพยาบาลจำนวน 45 คน เพื่อประเมินการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล และผู้ป่วยโรคโปรตีนรั่วในถุงลมที่มาให้การระงับความรู้สึก เพื่อทำหัตถการล้างปอด จำนวน 2 รายเพื่อใช้ในการศึกษานำร่อง เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคโปรตีนรั่วในถุงลมที่มาระงับความรู้สึก เพื่อทำหัตถการล้างปอด และแบบประเมินความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาล ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ตามเกณฑ์ประเมินเครื่องมือ AGREE II (Appraisal of Guideline for Research & Evaluation II) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: พบว่า1) ได้แนวปฏิบัติการพยาบาล ประกอบด้วยกิจกรรมพยาบาล 3 ระยะ ได้แก่ระยะก่อนให้ยาระงับความรู้สึก ระยะให้ยาระงับความรู้สึกและระยะหลังให้ยาระงับความรู้สึก 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ คิดเป็นร้อยละ 87.62 3) การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในทุกหัวข้ออยู่ในเกณฑ์มาก ข้อเสนอแนะให้ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ในการวิจัยครั้งต่อไป
References
Abdelmalak BB, Khanna AK, Culver DA, Popovich MJ. Therapeutic whole-lung lavage for pulmonary alveolar proteinosis a procedural update. J Bronchol Intervent Pulmonol 2015;22:251-8. doi: 10.1097/LBR.0000000000000180.
Kumar A, Abdelmalak B, Inoue Y, Culver DA. Pulmonary alveolar proteinosis in adults: pathophysiology and clinical approach. Lancet Respir Med 2018;6:554–65. doi: 10.1016/S2213-2600(18)30043-2.
Awab A, Khan MS, Youness HA. Whole lung lavage-technical details, challenges and management of complication. J Thorac Dis 2017;9:1697-706. https://doi.org/10.21037/jtd.2017.04.10.
Shrestha D, Dhooria S, Munirathinam GK, Sehgal IS, Prasad KT, Ram B, et al. How we do it: whole lung lavage. Sarcoidosis Vasc Diffuse Lung Dis 2022;39:1-9. doi: 10.36141/svdld.v39i2.12884.
Kaenmuang P, Navasakulpong A. Efficacy of whole lung lavage in pulmonary alveolar proteinosis: a 20-year experience at a reference center in Thailand. J Thorac Dis 2021; 13:3539-48. doi: http://dx.doi.org/10.21037/jtd-20-3308.
Moreira JP, Ferraz S, Freitas C, Morais A, Albuquerque RR, Fiuza C. Whole-lung lavage for severe pulmonary alveolar proteinosis assisted by veno-venous extracorporeal membrane oxygenation: a case report. Can J Respir Ther 2019;55:9-12. doi:10.29390/cjrt-2018-019.
Soukup SM. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: Promoting the scholarship of practice. Nursing Clinics of North America 2000;35:301-9.
Thongpramoon W, Muntraporn N. One lung ventilation (OLV) anesthesia in patient who undergone thoracotomy: Role of nurse anesthetist. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice 2015;2:25-40.
Phiphanmekhaphon T. Intraoperative management for thoracic surgery. In: Phiphanmekhaphon T, Editor. Anesthesia for Thoracic Surgery. Chiangmai: Sangslip Printing Chiangmai; 2022. P.215-87.
Jensen KA. 7 STEPS TO THE PERFECT PICO SEARCH Evidence-Based Nursing Practice[Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 26]. Available from: https://tinyurl.com/z9m5ecbf.
The Joanna Briggs Institute. New JBI Levels of Evidence. Level of Evidence and Grades of Recommendation Working Party October 2013 [Internet]. 2013 [cited 2020 Aug 1]. Available from: www.Joannabriggs.edu.au pubs/approach.php.
Ministry of Public Health Department of Medical Services. Appraisal of Guideline for Research & Evaluation II; AGREE II[Internet]. 2013 [cited 2023 Jan 9]. Available from: https://tinyurl.com/z9m5ecbf.
Vymazal T, Krecmerova M. Respiratory Strategies and Airway Management in Patients with Pulmonary Alveolar Proteinosis: A Review. BioMed Research International [internet]. 2015 [cited 2023 May 15]. Available from: http://dx.doi.org/10.1155/2015/639543
Mata-Suarez SM, Castro-Lalin A, Loughlin SM, Domini JD, Bianco JC. Whole lung lavage- a narrative review of anesthetic management. J Cardiothorac Vasc Anesth 2020;36:587-93. doi: https://doi.org/10.1053/j.jvca.2020.12.002
Pasitchakrit P, Sriramatr D, Limim J, Buppha P. Volatile anesthetic consumption by bispectral index monitoring compared to hemodynamic monitoring. J Med Health Sci 2017; 24:37-44.
Smith BB. Torres NE, Hyde JA, Barbara DW, Gillespie SM, Wylam ME, Smith MM. Whole-lung lavage and pulmonary alveolar proteinosis: review of clinical and patient-centered outcomes. J Cardiothorac Vasc Anesth 2019;33:2453-61. doi: 10.1053/j.jvca.2019.03.047.
Kiani A, Parsa T, Naghan PA, Dutau H, Razavi F, Farzanegan B, et al. An eleven-year retrospective cross-sectional study on pulmonary alveolar proteinosis. Adv Respir Med 2018;86:7–12. doi: 10.5603/ARM.2018.0003.
Jung JW, Lee H, Oh J. Anesthetic management during whole-lung lavage using lung ultrasound in a patient with pulmonary alveolar proteinosis: a case report. Yeungnam Univ J Med 2021;38:374-80. doi: https://doi.org/10.12701/yujm.2021.01284.
Raksakiattisak M. Anesthesia for thoracic spine surgery. In: Raksakiattisak M, Iamarun A, Editor. Anesthesia for spine surgery. Bangkok: Siriraj Publishing House; 2017. P. 159-70.
Bourn S, Wijesingha S, Nordmann G. Transfer of the critically ill adult patient. BJA Educ 2018;18:63–8. doi: 10.1016/j.bjae.2017.11.008.
Hanucharurnkul S. Improvement Science. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice 2016;3:5-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง