ผลการจัดการเรียนการสอนจริยธรรมทางการพยาบาลโดยใช้กรณีศึกษาต่อ สมรรถนะจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอน , กรณีศึกษา , จริยธรรมทางการพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนจริยธรรมทางการพยาบาลโดยใช้กรณีศึกษาต่อสมรรถนะจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล ประชากรที่ศึกษา คือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 81 คน เครื่องมือการวิจัยมี 2 ส่วน ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องจริยธรรมทางการพยาบาลจำนวน 10 กรณีศึกษา 2) เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบสมรรถนะความรู้ทางจริยธรรม แบบประเมินพฤติกรรมเชิงจริยธรรม และแบบประเมินสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์ตัดสินใจเชิงจริยธรรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้วย Paired sample t-test
ผลการวิจัย: 1) สมรรถนะความรู้ทางจริยธรรมก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาส่วนใหญ่คะแนนอยู่ในระดับดี เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะความรู้จริยธรรมจริยธรรมทางการพยาบาลก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมก่อนและหลังจัดการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยหลังจัดการเรียนการสอนพฤติกรรมด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความเอื้ออาทร และด้านที่คะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความร่วมมือ เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเชิงจริยธรรมโดยรวมก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยในรายด้านพบว่า หลักจริยธรรมด้านการทำประโยชน์และแนวคิดจริยธรรมด้านความร่วมมือมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) สมรรถนะการคิดวิเคราะห์ตัดสินในเชิงจริยธรรมหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา พบว่า เรื่องความรับผิดชอบ เรื่องการเคารพในเอกสิทธิความเป็นอิสระในการประกอบวิชาชีพฯ มีคะแนนผ่านเกณฑ์สูงที่สุด ส่วนหลักจริยธรรม เรื่องความยุติธรรมยังมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์
ข้อเสนอแนะ: ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลด้านความร่วมมือและทักษะการคิดวิเคราะห์ตัดสินใจในเชิงจริยธรรมด้านการใช้หลักความยุติธรรมในการประกอบวิชาชีพ
References
กนกวรรณ ฉันธนะมงคล. จริยธรรมทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2562.
กระทรวงศึกษาธิการ.ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ.2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่135, ตอนพิเศษ1ง (ลงวันที่ 13 มกราคม 2561). [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 25 มี.ค. 2567]. เข้าได้จาก: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/Edit(1).PDF
Suwannachat P., Professional Liability and Nursing Malpractice. JTNMC 2009;24:11-3.
อรัญญา เชาวลิต. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการศึกษาจริยศาสตร์ในหลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก; 2565.
สภาการพยาบาล. คู่มือส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์การพยาบาล: กลไกและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุดทอง; 2562.
อรัญญา เชาวลิต. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการศึกษาจริยศาสตร์ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก วันที่ 30-31 พฤษภาคม 2565. นนทบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก.
สมใจ ศิระกมล, สุพิศ รุ่งเรืองศรี, สุพิศ รุ่งเรืองศรี, กุลวดี อภิชาติบุตร, คัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง, อดิศักดิ์ พวงสมบัติ, และคณะ. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จริง. พยาบาลสาร2560;44:152.
วิจิตรา กุสุมภ์, อรุณี เฮงยศมาก. ผลของการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานต่อความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 2562;8:187-96.
Raths LE, Harmin, Simon. Value and Teaching. Columbus, Ohio: Charles B. Merrill; 1966.
ประสิทธิ์ คำพล. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี [ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.
โสภา รักษาธรรม, สุภาพร วรรณสันทัด. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563;36:220-232.
พิสมัย วงศ์สง่า, นภัทร บุญเทียม. ผลการจัดการเรียนการสอนกฎหมายอาญาโดยใช้กรณีศึกษาต่อสมรรถนะด้านความรู้และการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2565:37-8.
ณัฐิกา ราชบุตร, ดาริณี สุวภาพ, เครือวัลย์ ดิษเจริญ, ชนิดาวดี สายยืน. ประสิทธิผลของการพัฒนาสมรรถนะด้านจริยธรรมนักศึกษาพยาบาล. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ 2565;7:483-95.
กมลวรรณ บุญสาย. การปรับพฤติกรรมในด้านคุณธรรม และจริยธรรม โดยใช้กรณีศึกษาจากสื่อวิดีโอของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 สาขาวิชาการตลาดวิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ค.2567]. เข้าได้จาก: https://www.atc.ac.th/FileATC/ศูนย์วิจัยและพัฒนา/วิจัยเผยแพร่62/2.ตลาด/6.การปรับพฤติกรรมในด้านคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้กรณีศึกษาจากสื่อวิดีโอ(อ.กมลวรรณ).pdf
Williams, B. The Implementation of Case base Learning-shaping the Pedagogy in Ambulance Education.Journal of Emergency Primary Health Care 2004;2:1-7.
Bloom BS. Taxonomy of Education Objective. New York: David Mokey; 1971.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์; 2560.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.
ชลดา กิ่งมาลา, เอื้อจิต สุขพูล, ภาวิณี แพงสุข, ณกร ลูกสยาม. ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาต่อความรู้และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพชุมชน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563;7:223-32.
วิจิตรา กุสุมภ์, อรุณี เฮงยศมาก. ผลของการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานต่อความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 2562;8:187-96.
ประภัสสร กลีบปทุม. ผลของการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กรณีศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพัฒนาภาวะผู้นําและความพึงพอใจต่อการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร. รวมบทความวิจัย; การประชุมวิชาการระดับชาติ. กาญจนบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี; 2561.
นภัสกรณ์ วิทูรเมธา, วารินทร์ บินโฮเซ็น, วิลาวรรณ เทียนทอง. การพัฒนาพฤติกรรมกรรมจริยธรรมของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตรมหาวิทยาลัยรังสิต [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ18 มี.ค. 2567]. เข้าได้จาก: https://rsuir-library.rsu.ac.th/bitstream/123456789/1399/1/Naphasakon%20Vitoonmetha.pdf
พรศิริ พันธสี, เจตจรรยา บุญญกูล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมและการปฏิบัติตามกฎหมายในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสภากาชาดไทย 2560;10:81-94.
สภาการพยาบาล. คู่มือส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์การพยาบาล:กลไกและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุดทอง; 2566.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง