ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ต่อพฤติกรรม การป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน
คำสำคัญ:
การป้องกันการหกล้ม , การมีส่วนร่วมของครอบครัว , ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การหกล้มในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาวะผู้สูงอายุและครอบครัว การป้องกันการหกล้มทำให้ลดอุบัติการณ์และความรุนแรงได้ การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อน-หลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ได้รับคัดเลือกแบบเจาะจงจากตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำนวน 46 คน กลุ่มทดลอง 23 คน ได้รับโปรแกรมการป้องกันการหกล้มโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและกลุ่มควบคุม 23 คน ปฏิบัติตามแนวปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการป้องกันการหกล้มโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน มีค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.98 มีค่าความเที่ยงจากการใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Paired t-test
ผลการศึกษา: พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ไม่มีปัญหาการเดินหรือการทรงตัว และกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีอายุเฉลี่ย 66 และ 65 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มก่อนการทดลอง เท่ากับ 0.81 (Mean = 0.81, S.D. =.620) และหลังการทดลอง เท่ากับ 1.94 (Mean = 1.94, S.D. = .059) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ภายหลังได้รับโปรแกรมการป้องกันการหกล้มโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p<.01) สรุปได้ว่า ผลของโปรแกรมฯ ทำให้พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุสูงขึ้น ดังนั้น ครอบครัว ผู้ดูแลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนควรนำโปรแกรมที่มีลักษณะในการมุ่งสร้างความตระหนักให้รับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรง และให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการหกล้ม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีได้ยาวนานขึ้น
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถิติผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ก.พ. 20]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449
Eliopoulos C. Gerontological Nursing. 9th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins; 2018.
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. สถานการณ์โรคและการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ. ใน: วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, บรรณาธิการ. พฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุสำหรับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุขั้นต้น. นนทบุรี: ภาพพิมพ์; 2560. หน้า 21-29.
World Health Organization. WHO global report on falls prevention in older age [อินเทอร์เน็ต]. 2014 [เข้าถึงเมื่อ 2022 มี.ค. 3]. เข้าถึงได้จาก: https://extranet.who.int/agefriendlyworld/wp-content/uploads/2014/06/WHo-Global-report-on-falls-prevention-in-older-age.pdf
นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา กำวี. การพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/violence/
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสรุปผลการประเมินความรอบรู้การป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=37140&deptcode=
ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, กนกพร นทีธนสมบัติ. การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15:123-29.
วรรณพร บุญเปล่ง, วดีรัตน์ ศรีวงศ์วรรณ, พัฒนา เศรษฐวัชราวนิช. อัตราและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มของผู้สูงอายุ: ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดนนทบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2558;33:74-86.
ผ่องพรรณ อรุณแสง. การพยาบาลปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ: การนำใช้. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.
ภาวดี วิมลพันธ์ุ, ขนิษฐา พิศฉลาด. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557;23:98-109.
นารีรัตน์ จิตรมนตรี. การป้องกันการหกล้มและกระดูกหักที่บ้านและสถานดูแลระยะยาวด้วยสหวิชาชีพ. ใน: วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, บรรณาธิการ. ประเด็นสำคัญในทางปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ภาพพิมพ์จำกัด; 2564. หน้า 89-97.
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินการหกล้มในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สินทวีการพิมพ์; 2562.
Kittipimpanon K, Amnatsatsue K, Kerdmongkol P, Jarupat Maruo S, Nityasuddhi D. Development and Evaluation of a Community-based Fall Prevention Program for Elderly Thais. Pac Rim Int J Nurs Res 2012;16:222-35.
วิทยา วาโย, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์. ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35:25-33.
บุศรินทร์ ผัดวัง, ถาวร ล่อกา. การติดตามผลลัพธ์ระยะยาวในการสนับสนุนการจัดการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษา บ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2558;943-51.
Ojo EO, Thiamwong L. Effect of Nurse-Led fall prevention programs for older adults: A systematic review. Pac Rim Int J Nurs Res Thail 2022;26:417-31.
คณะทำงานแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดด้านสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิต จังหวัดตรัง. แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัย จังหวัดตรัง ปี 2566-2570 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: http://trang.nfe.go.th/UserFiles/Pdf/2023/140623.pdf
สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร์ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage
สถิติประชากรผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. มีนาคม 2565. เอกสารอัดสำเนา.
Becker MH, Maiman LM. Sociobehavioral Determinants of Compliance with Health and Medical Care Recommendations. Med Care 1975;13:10-24.
Cohen's Standards for Small, Medium, and Large Effect Sizes [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มิ.ย. 16]. เข้าถึงได้จาก: https://core.ecu.edu/wuenschk/docs30/EffectSizeConventions.pdf
ธีรภัทร อัตวินิจตระการ, ชวนนท์ อิ่มอาบ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์เขต 4-5 2562;38:288-98.
ฐิติมา ทาสุวรรณกิจ, กรรณิการ์ เทพกิจ. ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;38:186-95.
จรัญญา ส่งเสริม. ผลของโปรแกรมป้องกันพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2564;8:73-83.
โสภิตตา แสวา. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในอำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. 2565.
Mohammed RA, Nour-Eldein H, Abdel-Halim AW, Abdulmajeed AA. Effect of a fall prevention program for elderly persons attending a rural family medicine center, Egypt. J Public Health 2019;27:1-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง