ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • กัลยา บัวบาน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พรรณวดี บูรณารมย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จงลักษณ์ ทวีแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • บุปผา ใจมั่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

คุณภาพนอนหลับ , ความเครียด , นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับในนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 304 คนเป็นผู้ที่พักอยู่ในหอพักของวิทยาลัยฯระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน 2565  เครื่องมือเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล  ส่วนที่ 2 แบบวัดความเครียดของ กรมสุขภาพจิต (SPST- 20) จำนวน 20 ข้อ ส่วนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการดำรงชีวิตจำนวน 4 ข้อที่ครอบคลุมปัจจัยโน้มนำ (Predisposing factors) ซึ่งได้แก่ เพศ  อายุ ระดับชั้นปี ปัจจัยกระตุ้น (Precipitating factors) ได้แก่ ที่พักอาศัย จำนวนผู้พักอาศัย ความเครียด และปัจจัยคงอยู่ (Perpetuating factors) ได้แก่ การใช้โซเชียลออนไลน์ การออกกำลังกาย การดื่มชา/กาแฟ และยาที่ใช้เป็นประจำ และส่วนที่ 4 แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ Pittsburgh Sleep Quality Index: PSQI ฉบับภาษาไทย โดยเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่นแอลฟาครอนบราค .90  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนและเพียร์สัน ระหว่างปัจจัยโน้มนำ ปัจจัยกระตุ้นและปัจจัยคงอยู่ กับคุณภาพนอนหลับ

ผลการศึกษา: พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 304 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 95.4  มีอายุเฉลี่ย 20.6 ปี (S.D.) พบว่าส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 42.4 โดยมีชั่วโมงการใช้โซเชียลออนไลน์เฉลี่ย 5.5 ชม.ต่อวัน  พฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 45.4  ดื่มชากาแฟวันละ 1 แก้ว คิดเป็นร้อยละ 60.5 และมีกลุ่มตัวอย่าง 2 คนที่มียาที่รับประทานประจำ คือยา Nortriptyline และ Diazepam กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ร้อยละ 75.3  ปัจจัยอายุและชั้นปี มีความสัมพันธ์กันทางลบกับคุณภาพการนอนหลับไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-.132,p.02 และ r=-.141,p.014) ตามลำดับ และ การดื่มชา กาแฟ และความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการนอนหลับไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.17,p.003 และ r=.408,p.00) จากผลการวิจัยครั้งนี้ ทางสถานศึกษาควรจัดโปรแกรมหรือกิจกรรมที่ช่วยในการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับสำหรับนักศึกษาและหาแนวทางการจัดการกับปัจจัยด้านความเครียดซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตในอนาคต

References

Potaros D. Factors Related to Sleeping Quality of Nursing Students. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 2017;25:25-36.

Kittivoravitkul P. Smart Respiratory Care: Promoting Good Sleep in ICU. In: Sathavorn D, Piyavejvirat K, editors. The Smart ICU. Bankok: Beyond Enterprize; 2014. P. 261-73.

Yamma C, Lueboonthavatchai P. Sleep Problems, Fatigue and WorkEfficiency among Registered Nurse at King Chulalongkorn Memorial Hospital. J Psychiatr Assoc Thailand 2013;58:183-96.

Welle P, Graf HM. Effective lifestyle habits and coping strategies for stress tolerance among college students. Am J Health Educ 2011;42:96-105.

Lege D, Guilleminault C, Bader G, Levy E, Paillard M. Medical and socio-professional impact of insomnia. Sleep 2002;25:621-5.

Gaultney JF.The prevalence of sleep disorders in college students: Impact or performance. J Am Coll Health 2010;59:91-7.

Buboltz WC, Brown F, Soper B. Sleep habits and patterns of college preliminary study. J Am Coll Health 2001;50:131-5.

Nunchai J, Kraisree N, Somboon L, Tongsawat T. Factors Predicting Sleep Quality among Nursing Students. Nursing Journal 2017;44(Supplement 2):49-59.

Karnchanakomate J, Wongsawat P. Sleep quality and related factors among university students. J Nurs Sci Health 2020;43:135-145.

Chinvararak C, Kirdchok P, Pruttithavorn W, Tiamungkornpan J, Leelaprasertwong C, et al. Sleep Quality and Associated Factors in Preclinical Medical Students in Faculty of Medicine Vajira Hospital. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine 2021;56:332-42.

Faber J, Schlarb A. The relation of sleep, distress, and coping strategies—what male and female students can learn from each other?. Health 2016;8:1356-67. doi: 10.4236/health.2016.813136.

Spielman J. Assessment of insomnia. Clin Psychol Rev. 1986;6:11-25.

Jirapramookpitak T, Tanchaisawat W. Sleep quality of staff nurses Songklanagarind Hospital. The Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2003;42:123-31.

Yoocharoensuk K. Factors related to quality sleep of nursing students, faculty of nursing ratchathani university. Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences 2018;2:37–49.

Almojali AI, Almalki SA, Alothman AS, Masuadi EM, Alaqeel MK. The prevalence and association of stress with sleep quality among medical students. J Epidemiol Glob Health 2017;7:169–74. doi: 10.1016/j.jegh.2017.04.005

Kabrita CS, Hajjar-Muça, TA. Sex-specific sleep patterns among university students in Lebanon: impact on depression and academic performance. Nature and science of sleep 2016:8:189–96. doi: 10.2147/NSS.S104383.

Arayasinlapathon N, Somkumlung P, Seelawut J,Phoobunerb J, Mulmuangsaen J. Factors affecting sleep quality among nursing students in one college of nursing. Journal of Phrapokklao Nursing College 2017;28:38-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-29